สมาธิสั้น ควรแก้ตั้งแต่ยังเด็ก

สมาธิสั้น  ควรแก้ตั้งแต่ยังเด็ก

 

ลูกรักของเรา มีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า? ใช่อาการ สมาธิสั้น หรือไม่?

 

  • ไม่มีสมาธิจดจ่อ วอกแวกง่าย
  • เหม่อลอย ไม่ตั้งใจ
  • ลืม หรือทำของหายบ่อย ๆ
  • ทำงานตกหล่น หรือทำงานไม่เคยเสร็จ
  • ทำอะไรนาน ๆ ไม่ได้ 
  • เปลี่ยนงาน หรือกิจกรรมบ่อย ๆ
  • หากคิดอะไรได้ จะอยากทำทันที
  • รอคอยไม่ได้ ไม่มีความอดทน
  • ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง
  • ชอบวิ่ง ปีนป่าย เล่นผาดโผน
  • ชอบการเล่นที่ใช้กำลัง แรงเยอะ และสามารถเล่นได้ทั้งวัน
  • พูดเก่ง พูดเร็ว ไม่ค่อยฟังคนอื่น
  • ฯลฯ

 

หากลูกรักมีอาการเหล่านี้ สันนิษฐานได้ว่า ลูกอาจมีอาการสมาธิสั้นร่วมอยู่...

 


แล้วสมาธิสั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? มีวิธีแก้ไขหรือไม่? หายได้หรือเปล่า?


อาการสมาธิสั้นคืออะไร?


อาการสมาธิสั้นหรือที่รู้จักกันในชื่อ ADHD (Attention deficit/ hyperactivity disorder) ซึ่งอาการสมาธิสั้นสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลายปัจจัย ดังนี้

  •  ความผิดปกติทางพันธุกรรม  จากงานวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่อาการสมาธิสั้นมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เด็กที่มีญาติที่มีอาการสมาธิสั้นจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการ สมาธิสั้น มากกว่าเด็กทั่วไปถึง 4 เท่า

 

  •  การขาดสารอาหาร  นักวิจัยเชื่อว่า การขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการ สมาธิสั้น ได้ เพราะกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของสมอง และระบบประสาท ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้

 

  •  สภาพแวดล้อม  หากคุณแม่สูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ อาจทำให้เด็กในครรภ์มีอาการสมาธิสั้นได้ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง นอกจากนี้การได้รับสารพิษประเภทตะกั่ว เช่น กลิ่นจากสีทาบ้านแบบเก่า หรือกลิ่นท่อน้ำที่ไม่ได้ซ่อมแซมเป็นเวลานาน ก็ส่งผลกระทบต่อการเกิดอาการสมาธิสั้นได้เช่นกัน

 

  •  ระบบการทำงานของสมองผิดปกติ  ความผิดปกติในการทำงานของสมอง เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดอาการสมาธิสั้นได้ เช่น การได้รับหรือสัมผัสเชื้อโรคบางชนิด การประสบอุบัติเหตุ การคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย เมื่อสมองส่วนหน้าถูกทำลาย หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ทำให้สมองเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุทำให้เด็กมีอาการ สมาธิสั้น ได้เช่นกัน

 

 

สมาธิสั้นจะแก้ไขอย่างไรดี?


หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวล และคิดว่าลูกมีอาการสมาธิสั้นสิ่งแรกที่ควรทำ คุณพ่อคุณแม่อาจไปขอคำปรึกษาแพทย์อายุรกรรมหรือกุมารแพทย์ก่อน พาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาเด็ก จิตแพทย์เด็ก หรือ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดว่าลูกมีอาการสมาธิสั้นจริงหรือไม่ และหากลูกมีอาการสมาธิสั้นวิธีแก้ไขนั้นก็มีอยู่หลายทาง ดังเช่น


เข้ารับการรักษากับแพทย์ ด้วยการบำบัดทางจิต และการรักษาด้วยยาควบคู่กันได้ ผลการวิจัยจำนวนมากระบุว่า การรับประทานยาเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถบรรเทาอาการ สมาธิสั้นได้อย่างเห็นผลร้อยเปอร์เซ็น ดังนั้นการรักษาด้วยการบำบัดและทานยาทั้งสองวิธีควบคู่กันจึงจะดีมากกว่า

 

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยส่งเสริมสมดุลให้สารเคมีในสมอง ทำให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 แต่หากให้เด็กรับประทานอาหารบางประเภทที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือมีคาเฟอีนที่มากเกินไป สารอาหารเหล่านี้จะยิ่งไปกระตุ้นอาการสมาธิสั้นของเด็ก ๆ ให้มีเพิ่มขึ้นได้ 

 

ทำกิจกรรมฝึกสมอง อาการสมาธิสั้นเกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง หรือสมองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เด็กไม่สามารถจดจ่อ หรือมีสมาธิกับการเรียนรู้ หรือทำบางสิ่งบางอย่างได้ 
หากเด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยฝึกให้สมองแข็งแรง การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ก็จะง่ายขึ้น ทำให้เด็ก ๆ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้นานมากขึ้น และมีสมองที่แข็งแรงเหมือนกล้ามเนื้อที่ได้ออกกำลังกายอย่างเต็มที่ ทำให้สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ จดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

 

ที่ BrainFit มีกิจกรรมฝึกสมองมากมาย ที่จะช่วยพัฒนาและฝึกสมองทุกด้านให้แข็งแรง ทั้งด้านสมาธิ ความจำ ทักษะการมอง ทักษะการฟัง การควบคุมกล้ามเนื้อและร่างกาย ทักษะการเรียนรู้อารมณ์และการเข้าสังคม 

 

"สมาธิสั้น"


ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกจากอาการสมาธิสั้นได้ ด้วยการปรับสภาพแวดล้อม และการเรียนรู้ให้เข้ากับลูกของเรา เช่น ให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ โดยมีผู้ปกครองอยู่ใกล้ ๆ คอยชื่นชมและให้กำลังใจ ให้ลูกภูมิใจกับผลงานของตนเอง มีความมั่นใจมากขึ้น จนรู้สึกอยากงานชิ้นนั้นทำต่อไป


พาลูกออกไปเข้าสังคม เจอกับเพื่อน ๆ หรือเล่นกับเพื่อน ๆ ที่สนามเด็กเล่น ฝึกทักษะการเข้าสังคมให้มากขึ้น ค่อย ๆ ให้ลูกปรับตัวเข้ากับเพื่อน สอนลูกเรื่องการพูดคุย การเป็นผู้ฟังที่ดี การอ่านสีหน้าท่าทาง การเรียนรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รวมไปถึงการสอนเรื่องกติกาและกฎระเบียบ มีรางวัลหรือการชื่นชมเมื่อลูกทำตามข้อตกลงได้ดี และมีการลงโทษตามความเหมาะสม เมื่อลูกไม่ทำตามกติกา เป็นต้น

 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า อาการสมาธิสั้นสามารถแก้ไขได้ ยิ่งเด็กยิ่งแก้ได้ง่าย หากได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด คุณพ่อคุณแม่หมดกังวลได้เลยค่ะ ลองเอาคำแนะนำข้างต้นไปปรับใช้กับลูกรักของเราดูนะคะ หวังว่า BrainFit จะเป็นที่ปรึกษาให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้

 

แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ

 

 

 

------------------------------------

 

BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18  ปี

รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!!

ที่ 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE@brainfit_th

 


 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4