เด็กพัฒนา “การรับรู้เวลา” อย่างไร?
ช่วงอายุ 0-2 ปี “ฉันจะไปเดี๋ยวนี้” โดย Carla Poole
โลกของเด็กที่เกิดใหม่เป็นความรู้สึกภาพลานตา สิ่งที่เห็น ได้ยิน และกลิ่น แม้ว่าเด็กบางคนจะพัฒนารูปแบบการให้อาหารและการนอนหลับได้อย่างรวดเร็ว แต่นี่อาจจะต้องใช้เวลาสักเล็กน้อยสำหรับเด็กที่พึ่งเกิดใหม่ ในความเป็นจริงที่เปลี่ยนจากตื่นไปหลับ
ทำอย่างต่อเนื่อง
สำหรับ 6 เดือนแรก คุณสามารถช่วยทารกควบคุมความสับสนได้ โดยตอบสนองให้ตรงความต้องการ เช่น ป้อนอาหารเมื่อทารกหิวหรือปลอบเมื่อเด็กเสียใจ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เด็กจัดการกับตัวเองได้ พยายามดูสัญญาณและตอบสนองความต้องการเพื่อสร้างความเชื่อใจ ความหลากหลายของการเลี้ยงดูแลเด็กจะช่วยให้การควบคุมร่างกายตามธรรมชาติและเป็นไปตามตารางเวลา ความรัก ความผูกพัน จะก่อตัวขึ้นและชีวิตจะเริ่มเป็นแบบแผนมากขึ้น
รู้จักสไตล์ครอบครัว
ที่สามารถคาดการณ์ได้หลายๆอย่างว่าความสม่ำเสมอในทุกวัน จะเป็นพื้นฐานสำคัญในเรื่องของการรับรู้ว่า แต่ละครอบครัวจะมีรูปแบบในการใช้เวลาที่แตกต่างกัน และเด็กๆจะนำรูปแบบเวลาจากที่บ้านมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ควร “ตรงต่อเวลา” หรือ ทำตัวตามสบายและไม่ต้องมองนาฬิกาตลอดเวลา เด็กๆอาจจะนำอารมณ์หรือบุคลิกภาพที่เป็นของตัวเองเข้าไปในครอบครัว
เพิ่มกิจวัตรที่ยืดหยุ่น
แม้ว่าเด็กวัยหัดเดินไม่สามารถบอกเวลาได้ แต่มันค่อนข้างน่าทึ่งที่พวกเขาพัฒนาการรับรู้ช่วงเวลาผ่านกิจวัตรซ้ำๆ คุณสามารถคงความยืดหยุ่นในขณะที่เด็กวัยหัดเดินต้องการทำกิจวัตรเดิม อย่าให้ตารางประจำวันเป็นตารางที่เข้มงวดตามนาฬิกาเป๊ะ มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตราบใดที่ยังเป็นวัฎจักรที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของเด็กวัยหัดเดินยังคงเป็นไปตามลำดับเดิม ตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 15 เดือน ชื่อ Sammy เขาเปลี่ยนจากนอน 2 ชั่วโมง เป็น 1 ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าเขามีอาการเหนื่อยตั้งแต่เช้า เวลากลางวันก็จะขยับขึ้นมา ดังนั้นมั่นใจได้ว่าเขาจะได้ทานอาหารก่อนนอนหลับ ช่วงเวลาตั้งแต่เช้าก็ยังคงดำเนินมาเรื่อยๆตามตารางเวลาเดิมตั้งแต่ เล่น กินขนม ไปข้างนอก และทานอาหารกลางวัน ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะทำสั้นลง ไม่มีเด็กวัยหัดเดินสับสนกับการเปลี่ยนแปลง เพราะตารางกิจกรรมของพวกเขายังคงเหมือนเดิม
ต้องมีความยืดหยุ่น
เด็กวัยหัดเดินและเด็กอายุ 2 ปี มีเวลาตลอดในโลกใบนี้ แต่ผู้ใหญ่ไม่เคยมีเวลาเพียงพอ ซึ่งน่าเคารพเด็กวัยหัดเดิน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นโลกแห่งความเป็นจริง เด็กเล็กมีความอยากรู้อย่างแรงกล้า เมื่อคุณต้องขัดจังหวะกิจกรรมของเด็กๆ ให้เวลาให้เขาได้ปรับตัวสักครู่ ผู้ใหญ่มักจะทำเหมือนเคร่งอยู่กับเวลา เราเพียงแค่พยายามฝึกให้เขา “ตรงต่อเวลา” เมื่อใดก็ตามที่มีเวลาไม่จำกัดควรจะทำให้ทุกอย่างสนุกสนานมากที่สุด
คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง
· บอกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแน่นอน “แม่จะกลับมาหาหลังจากที่ลูกตื่นนอน”
· พูดถึงกิจกรรมที่ทำในตอนเช้าระหว่างมื้อเที่ยง “พวกเราเล่นในบ้านแล้วก็ออกไปเล่นข้างนอก”
ช่วงอายุ 3-4 ปี “วันนี้เป็นวันเกิดของฉัน” โดย Susan A. Miller, EdD
ใช่แล้ว ฉันตื่นเต้นสุดๆ วันเกิดของ Sapphire วัย 4 ปี ที่ตะโกนออกมาให้คุณครูได้ยิน “วันนี้เป็นวันพิเศษ! เพราะวันนี้เป็นวันเกิดของหนู พวกเราจะได้กินคัพเค้กน้ำตาลไอซิ่งตอนเวลาพัก หลังจากเข้ากลุ่มทำงานกับเพื่อนเสร็จ คุณครูรู้หรือเปล่าว่าวันเกิดของ Nana มาตามหลังวันเกิดหนู แล้วอาทิตย์หน้าพวกเราจะไปงานวันเกิดของเธอที่บ้าน”
สำหรับเด็กวัยก่อนเรียนยังจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางเหมือนตัวอย่าง Sapphire ปัจจุบันเธออยู่ที่ไหน และการไปให้ทันเวลานั้นสำคัญต่อเธอมาก เด็กอายุ 3 – 4 ปีนั้นต้องการประสบการณ์ที่มีความหมายมากในเรื่องของการรับรู้เวลา เช่น นิทานก่อนนอน ที่จะช่วยให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องเวลา สำหรับเด็กๆ การเข้าใจเรื่องเวลาจะเริ่มต้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเช่นวันเกิดของ Sapphire หรือการล้างมือก่อนรับประทานอาหารกลางวัน โดยที่ทำตามความเคยชินหรือกิจวัตรประจำวัน และจะทำให้เด็กๆได้ตระหนักในเรื่องของเวลามากขึ้นว่าปัจจุบัน อดีตและอนาคต
ปรับตารางเวลาปกติ
เด็กวัยก่อนเรียนล้วนต้องการสร้างประสบการณ์เหล่านั้น เพราะเวลาเป็นเหมือนนามธรรมสำหรับเด็ก ซึ่งยากเกินกว่าจะอธิบาย อย่างเช่น Sapphire สามารถสังเกตสัญลักษณ์ของเวลาผ่านทางคัพเค้กที่สวยงามที่มาพร้อมกับเทียนวันเกิด ที่เป็นตัวแสดงให้เห็นว่าได้ผ่านไปแล้ว 1 ปี และเธอก็อายุเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี แต่เวลาที่แน่นอนยังไม่ปรากฏให้เห็น
เด็กอายุ 3-4 ขวบ จะรู้สึกปลอดภัยถ้าได้ทำตามตารางเวลาเดิม เช่น แต่งตัว ทานอาหารเช้า ขี่จักรยานไปโรงเรียน พูดคุยกับเพื่อน และทำกิจกรรมในยามว่าง ผู้ใหญ่สามารถยืดตารางกิจกรรมของเด็กๆได้ อย่างไรก็ตามมันอาจจะเริ่มสับสนนิดหน่อยสำหรับเด็กเล็กถ้าคำสั่งในเหตุการณ์นั้นๆเปลี่ยนแปลงไป เมื่อ Jake อายุ 4 ขวบถาม “เมื่อไรเราจะได้ออกไปเล่นข้างนอกครับ?” ให้รู้ไว้เลยว่ากิจวัตรประจำวันของเขาจะช่วยให้เขาเข้าใจคุณครูเมื่อตอบมาว่า “หลังจากนอนกลางวัน”
การสังเกตก่อนและหลัง
ก่อนและหลังความเข้าใจเรื่องเวลาของเด็กวัยก่อนเรียน อย่างกรณีของ Sapphire รู้ว่าเหตุการณ์การเข้ากลุ่มกับเพื่อนจะเกิดก่อนเวลาพักกินขนม เธอยังรู้อีกว่าอาทิตย์ถัดไปจะเป็นวันเกิดของ Nana คุณครูค้นพบว่าชาร์ทเหตุการณ์ช่วยอย่างมากในการทำความเข้าใจ มันช่วยกระตุ้นเวลาของเหตุการณ์สำหรับเด็ก
เมื่อ Sapphire ประกาศไปแล้วว่าจะไปงานวันเกิดของ Nana อาทิตย์หน้า เธอสามารถระบุเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและวางแผนที่จะไปงานวันเกิดของเพื่อน การนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต Emily อายุ 3 ปี อธิบายถึงเพื่อนของเธอ “เมื่อวานเธอขี่สามล้อสีแดง แต่ฉันมีสีน้ำเงิน” ถึงแม้ว่าเด็กอายุ 3-4 ปี จะมีหน้าที่ในการอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและรู้จักคำเฉพาะที่จะอธิบาย เช่น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรือเมื่อสองสามวันก่อน พวกเขาไม่สามารถใช้ช่วงเวลาได้ถูกต้องเสมอ เช่น คำว่า”เมื่อวาน”ของ Emily อาจจะหมายถึง เมื่อสองวันก่อน
เข้าใจอุปกรณ์ที่ใช้บอกเวลา
ถึงแม้ว่าเด็กวัยก่อนเรียนจะไม่สามารถอ่านตัวบอกเวลาได้ เช่น นาฬิกา หรือปฏิทิน จนกว่าพวกเขาจะโตขึ้น พวกเขารู้ว่านี่คือตัวช่วยบอกว่าเวลาได้ผ่านไปนานเท่าไรแล้ว Allison อายุ 3 ปี ชอบที่จะแกล้งอ่านนาฬิกาบนข้อมือและใช้คำศัพท์ที่บอกเวลาจากนาฬิกาวิเศษของเธอ “คุณพ่อมาช้าวันนี้” “อีก 6 นาที” หรือ “10 โมงเช้า” เด็กอายุ 4 ปีบางคนเริ่มที่จะเข้าใจว่าเมื่อใดที่มือทั้ง 2 ข้างยกขึ้นตรง นั่นหมายความว่าเป็นเวลาของอาหารกลางวัน
แสดงเวลาโดยคำศัพท์ต่างๆ
เด็กวัยก่อนเรียนที่กำลังพัฒนาเรื่องการรับรู้เวลา พวกเขารู้สึกสบายและเฉลียวฉลาดที่จะใช้คำศัพท์มากมายที่จะบอกเวลาในอดีต ปัจจุบันและอนาคต โดย Ivan อายุ 4 ปี เขาภูมิในสุดๆที่จะชู 4 นิ้วขึ้นมาเพื่อที่จะบอกอายุเขาในตอนนี้ Sapphire สนุกสนานกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับวัน เช่น “วันนี้” “วันที่สุดแสนพิเศษของฉัน” “วันเกิดของฉัน” และรวมไปถึงตัวอย่างของเวลา เช่น “เวลาทำงานกลุ่มกับเพื่อน” “เวลาอาหารว่าง” Martha อายุ 4 ปี ใช้คำศัพท์เกี่ยวกับฤดูกาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเธอ เช่น “เมื่อฤดูหนาวที่แล้ว เราสร้าง Snowman กันที่สนามเด็กเล่น” Jorie อายุ 4 ปี สามารถใช้คำศัพท์เกี่ยวกับในช่วงเทศกาลต่างๆได้ เช่น “ช่วงคริสต์มาส” “วันชาติของสหรัฐอเมริกา” ที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมที่เขาทำ เขาเล่าว่า “ปีนี้เขาจะแต่งตัวเป็นผีในช่วง Halloween”
และแน่นอนเด็กวัยก่อนเข้าเรียนมักจะเชื่อมโยงเรื่องราวอดีต ปัจจุบัน อนาคต ไว้รอบตัวเอง Sara อายุ 3 ปี หัวเราะขณะที่กำลังเล่าให้เพื่อนฟังว่า “เมื่อตอนที่เธอเป็นเด็ก เธอใส่ผ้าอ้อม” หรือ เด็กอายุ 4 ปีที่กล้าหาญ Todd เล่าว่า “เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะเป็นคนขับเครื่องบิน Jet”
คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง
· อ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการบอกเวลา เช่น หนังสือคลาสสิค “Good Night Moon” ที่จะช่วยให้เด็กเติมประโยคให้สมบูรณ์
· ทำสมุดบันทึกเหตุการณ์ในห้องเรียน อาจจะวาดภาพหรือถ่ายภาพที่เรียงลำดับเหตุการณ์สำคัญที่สามารถมองเห็นเป็นรูปภาพไทม์ไลน์ (visual timeline) เพื่อนำมาพูดคุยกัน
ช่วงอายุ 5-6 ปี “ฉันจะไปพรุ่งนี้” โดย Ellen Booth Church
มันคือการประชุมพรุ่งนี้ และเด็กๆจะมารวมตัวกันสำหรับช่วงเวลาแห่งการแบ่งปัน รูปแบบเวลาสำหรับนักเรียนอนุบาลจะออกมาโดยคำพูดของพวกเขา เช่น เด็กชายที่สุดแสนจะตื่นเต้น Joshua พูดว่า “เรากำลังไปบ้านคุณย่าเมื่อวาน” หรือ Beth ถามว่า “ถึงเวลากลับบ้านได้หรือยังครับ” เกิดอะไรขึ้นกับคำพูดเหล่านี้
แนวคิดรูปแบบของเวลาอาจจะยากเกินไปสำหรับเด็กอายุ 5- 6 ปี ที่จะเข้าใจ เพราะมันเป็นนามธรรม การรับรู้เรื่องเวลาจะค่อยพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตามลำดับโดยเรียนรู้ผ่านช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ เหมือนที่เด็กๆเริ่มมีประสบการณ์บนโลกใบนี้ทั้งกับผู้คนและสิ่งต่างๆรอบตัว แนวคิดเรื่องเวลาจะเริ่มรวมกับชีวิตประจำวัน คำศัพท์ก็เช่นเดียวกัน
เชื่อมโยงเวลากับสถานการณ์
คำศัพท์ เมื่อวาน วันนี้ และพรุ่งนี้ จะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงหรือกิจกรรมที่ทำให้แนวความคิดเรื่องเวลาเป็นรูปธรรม ระหว่างการพัฒนาเด็กๆจะเรียนรู้ที่จะเข้าใจมากขึ้นและเข้าใจนามธรรมมากขึ้น พวกเขากำลังอยู่ในขั้นตอนของการเข้าใจนิยามของเวลาโดยสังเกตจากเหตุการณ์และสัญลักษณ์ หรือไม่ก็จะอาจจะเป็นเหตุการณ์ความทรงจำ เช่น งานเลี้ยงฉลอง หรือการไปเที่ยว หรือเคยชินกับกิจวัตรที่ทำในแต่ละวัน
การใช้ปฏิทิน
เด็กอนุบาลจะเรียนรู้เรื่องเวลาจากการสังเกตหรือการบันทึก มันคือเหตุผลหนึ่งว่าทำไมถึงได้เป็นที่สนใจในกลุ่มของเด็กขณะนั้น ปัญหาก็คือบางครั้งคุณครูลืมที่จะเชื่อมโยงวันและเวลาให้เข้ากับสิ่งที่สังเกตได้หรือบันทึกได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเหมาะมากสำหรับการสังเกตหรือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ เพื่อให้รู้ว่าเกิดเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน เช่น เด็กอายุ 5- 6ปี จำได้ว่าเมื่อวานอากาศสดใสและวันนี้มีเมฆมาก ดังนั้นพวกเขาสามารถคาดเดาสภาพอากาศของวันถัดไปได้ ปฏิทินสภาพอากาศหรือกราฟเป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับเด็กที่จะรู้เวลาว่า เมื่อวาน วันนี้และพรุ่งนี้
ค้นหาความหมายของเวลา
บางทีสิ่งที่น่าสับสนที่สุดคือรูปแบบของอดีต ปัจจุบัน อนาคต เหมือนที่คุณกำลังจินตนาการว่าคำเหล่านี้เป็นนามธรรมมากกว่าคำว่า เมื่อวาน วันนี้และพรุ่งนี้ เด็กอายุ 5-6 ปี เริ่มจะเข้าใจเรื่องเหล่านั้นที่ผู้ปกครองพวกเขาเคยทำกันใน “วันเก่าๆ” และอะไรที่ปู่ย่าของพวกเขาที่เคยทำไว้นานมากๆแล้ว เด็กๆก็ยังคงสับสนอยู่ ที่เห็นได้จาก Susan ที่เล่าให้คุณย่าฟังว่าเธอต้อง”ขี่ไดโนเสาร์ไปโรงเรียนเมื่อสมัยก่อนๆ” เห็นได้ชัดเจนเลยว่าเธอเข้าใจว่าไดโนเสาร์มาจากอดีตและในเวลาเดียวกันก็ไม่แน่ใจว่านานแค่ไหนหลังจากคุณย่า
เด็กอนุบาลสามารถที่จะเข้าใจและเริ่มที่จะรับรู้เวลามากขึ้นจากการสำรวจทั้งในอดีตและปัจจุบันที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น พูดคุยถึงวิธีการที่คนเดินทางไปมาในแต่ละสถานที่ เช่น ในอดีตอาจจะต้องขี่ม้าและในปัจจุบันอาจจะต้องขับรถหรือเดินทางโดยเครื่องบิน ลองถามเด็กๆดูก็ได้ว่าเดาได้ไหมว่าคนเราเคลื่อนย้ายไปในอนาคตได้หรือไม่
จัดโครงสร้างของวัน
แน่นอนว่าการนึกถึงที่ผ่านมาทั้งวันคือวิธีที่ง่ายที่สุด เด็กๆก็จะนึกถึงสิ่งที่ผ่านมาทั้งวัน ความสามารถที่จะรับได้ของพวกเขาเกี่ยวกับเวลาจะมากขึ้น โดยที่จะเริ่มตระหนักว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นซ้ำในเวลาที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละวัน เด็กอนุบาลอยากจะรู้ว่าเวลาเท่าไรและเริ่มเข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น เช่น เวลาที่ต้องไปโรงเรียนและเวลาที่ต้องกลับจากโรงเรียน ที่เกิดขึ้นในทุกๆวัน ทำภาพถ่าย หรือ Timeline สำหรับวันที่ต้องไปโรงเรียน ทำเครื่องหมายไว้ในแต่ละเหตุการณ์พร้อมรูปภาพบนนาฬิกาที่เขียนตัวเลขเอาไว้ คุณอาจจะให้อุปกรณ์ง่ายๆสำหรับเด็กๆที่ทำให้เข้าใจเรื่องเวลา
คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง
· เมื่อไรก็ตามที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ให้ใช้ “ภาษาของเวลา” กับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ โดยการเน้นคำ เช่น โดยเร็วที่สุด ทีหลัง แต่เช้า เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ อาทิตย์หน้า ตอนเช้า ตอนกลางวันและตอนเย็น ชี้ให้เห็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อแสดงคำศัพท์ที่คุณใช้
· โชว์ให้เด็กเห็นถึงวิธีทำ “บันทึกประจำวัน” หรือ “ไดอารี” เด็กๆอาจจะใช้ประดาษเปล่าทำเป็นหน้าแต่ตกแต่งเป็นหน้านาฬิกา สอนเด็กๆให้รู้จักการวาดเวลาบนนาฬิกาแล้วถามพวกเขาว่าต้องวาดอย่างไร วางตรงไหน หรือเขียนเกี่ยวกับชอบทำอะไรในเวลานั้นๆ ใส่แผ่นหน้ากระดาษแล้วก็เย็บเล่มทำเป็นหนังสือ
BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี
รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!
02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769
LINE: @brainfit_th
แหล่งอ้างอิง : https://www.scholastic.com/teachers/articles/teaching-content/ages-stages-how-children-develop-sense-time/