ฝึกการฟัง เสียงภาษาอังกฤษ ต้องมาก่อน
“เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งหลายปีแล้ว แต่ทำไมยังไม่ดีขึ้นเลย??!”... หลายๆคนเข้าใจว่า การเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ดีนั้น จะต้องเป็นคนที่รู้จักคำศัพท์ ต้องขยันท่อง ขยันจำ แกรมม่าต้องเป๊ะ ซึ่งเห็นกันได้บ่อยสำหรับเด็กไทยในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงแล้ว น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่า การเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลและนำมาใช้ได้จริงนั้นไม่ได้มีแค่การรู้คำศัพท์เท่านั้น แต่ยังต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอีกมากมาย เรามาปรับความเข้าใจกับการเรียนภาษาอังกฤษแบบที่ถูกวิธีกันดีกว่า
เรามาลองทดสอบการฟังกัน โดยการพูดคำว่า Cat เสียงแรกของตัวหน้าที่คุณได้ยินคืออะไร คำตอบที่ได้คือเสียงอะไร ระหว่าง ซี หรือว่า เคอะ? ถ้าอย่างนั้นเรามาลองเปลี่ยนจากตัว “C” มาเป็นตัว “M” บ้าง คุณสร้างคำใหม่ได้คำว่าอะไร? นี่คือวิธีการทดสอบการเรียนรู้เรื่องหน่วยเสียงในภาษาอังกฤษ (Phonemic Awareness) แบบง่ายๆให้กับเด็กๆที่กำลังเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เป็นการสร้างรากฐานความเข้าใจทางด้านภาษาว่า หน่วยเสียงแต่ละเสียงสามารถประกอบขึ้นเป็นคำใหม่ได้ ซึ่งเราจะมาเรียนรู้กันว่ามันสามารถส่งผลดีต่อการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กในอนาคตได้อย่างไร
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กไทยส่วนใหญ่ นักเรียนจะเคยชินในรูปแบบวิธีท่องจำเป็นคำๆ เช่น Cat เด็กๆจะออกเสียงว่า “ซี- เอ-ที =แคท” นี่เป็นวิธีการท่องจำแบบเก่าๆ แทนที่จะได้ฝึกแบบขั้นตอนการฝึกเสียงที่แท้จริง เช่น “เคอะ-แอะ- เทอะ = แคท” ซึ่งวิธีนี้จะสอนให้เด็กเรียนรู้เสียงและสร้างกลุ่มคำใหม่ที่ใกล้เคียงขึ้นได้ เมื่อเด็กๆไปเจอคำศัพท์ใหม่ๆ กระบวนการเรียนรู้เสียงสำหรับแต่ละตัวอักษรจะเกิดขึ้นได้เองอย่างอัตโนมัติและเป็นธรรมชาติ ทำให้เด็กๆสามารถเชื่อมโยงเสียงจากตัวอักษรและอ่านออกได้อย่างคล่องแคล่วตามมา
จากประสบการณ์แชร์เรื่องราวของคุณ Kimberly นักภาษาศาสตร์ เธอเริ่มสังเกตการเติบโตของลูกชายตั้งแต่วัยแรกเกิด ตั้งแต่ที่ลูกชายเริ่มยิ้ม ทำเสียงอ้อแอ้ และแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งในวัยนี้ สมองของเด็กจะเริ่มรับรู้เสียงต่างๆที่ได้ยินและเริ่มทำการประมวลผล ทำให้ใยสมองเริ่มก่อตัวและสร้างการเชื่อมโยงเสียงขึ้น จึงทำให้เด็กพยายามที่จะพูดโดยการทำเสียงอ้อแอ้ จากนั้นพัฒนาการพูดเป็นคำๆ จนกระทั่งสามารถเชื่อมโยงคำต่างๆรวมเป็นประโยค และมีโครงสร้างทางภาษาที่สมบูรณ์ ซึ่งจริงๆแล้วกระบวนการนี้เองที่ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้และสร้างรูปแบบประโยคที่มีไวยากรณ์หรือแกรมม่าเป็นตามกลไกธรรมชาติที่สมองได้รับรู้จากการวิเคราะห์เสียงนั่นเอง ซึ่งความสามารถในการรับรู้โครงสร้างภาษานี้สามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ทักษะด้านการอ่านในอนาคตได้ เนื่องจากพัฒนาการภาษาทางด้านการฟังและการอ่านนั้นทำงานควบคู่กัน
แล้วสองสิ่งนี้จะเชื่อมโยงกันได้อย่างไร? จริงๆแล้ว การเรียนรู้เรื่องภาษานั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ หน่วยเสียง คำศัพท์ แกรมม่า และยังรวมไปถึงทักษะด้านสังคมด้วย ซึ่งก่อนที่เด็กจะพัฒนาไปสู่กระบวนการอ่าน สิ่งสำคัญที่สุดที่เด็กต้องได้รับการฝึกฝนให้แม่นยำก่อนคือ ทักษะด้านการฟัง โดยเริ่มจากเด็กจะต้องมีความสามารถในการแยกคำที่ได้ยินออกมาเป็นหน่วยเสียงพื้นฐานก่อน ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า สมองจะทำหน้าที่แยกแยะหน่วยเสียง และทำการเชื่อมโยงกับตัวอักษรที่เห็นแต่ละตัวว่าเป็นตัวแทนของแต่ละเสียงใดบ้าง (Phonemic Awareness) ซึ่งเมื่อเด็กได้รับรู้และฝึกทักษะด้านการเรียนรู้ภาษาทั้งการฟังการออกเสียงและการอ่านควบคู่กันอย่างถูกวิธี สมองจะรับรู้ วิเคราะห์และจดจำหน่วยเสียงต่างๆเหล่านี้ได้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำและถาวร ต่อยอดไปสู่การอ่านได้เป็นอย่างดี และสามารถสะกดหรือออกเสียงคำศัพท์ใหม่ๆได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องท่องจำ
เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว กระบวนการเรียนรู้ทีละขั้นตอนแบบไม่ลัดคิวให้เด็กๆจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เด็กๆจะอ่านหรือรู้วิธีออกเสียงคำศัพท์ใหม่ๆได้อย่างไร หากเด็กๆยังไม่เข้าใจว่าอักษรแต่ละตัวนั้นสามารถออกเสียงแตกต่างกันได้ (Phonemic Awareness) เราควรสอนให้เด็กๆเข้าใจก่อนว่า หน่วยเสียงแต่ละคำนั้นสามารถประกอบเป็นคำใกล้เคียงหรือเป็นคำใหม่ได้ เช่น Cat / Mat / Rat เพราะฉะนั้นการฝึกให้เด็กได้ยินและรับรู้หน่วยเสียงทุกเสียงในภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งสำคัญและขาดไม่ได้ ซึ่งหากตัวเด็กเองเติบโตมาโดยที่ขาดการฝึกฝนที่ถูกวิธีหรือเด็กเองมีข้อจำกัดทางด้านการฟัง การได้ยิน หรือการรับรู้ของเสียงช้ากว่าปกติ ก็จะยิ่งเป็นสิ่งที่ยากต่อการเรียนรุ้ทางด้านภาษาและการอ่านตามมาได้นั่นเอง
การฝึกทักษะด้านการรับรู้ของเสียงทำได้อย่างไร
จากงานวิจัยของอดัม Adams ในปี 1990 ระบุดังนี้
- เริ่มต้นจากการฟังเสียงที่คล้องจองกัน เช่น การฟังเพลงภาษาอังกฤษในช่วงวัยอนุบาล Nursery rhymes
- เปรียบเทียบเสียงที่ได้ยินว่าคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันได้ เช่น bat / bun / rug
- ฝึกฟังจากการแยกหน่วยเสียงที่ได้ยินแต่ละเสียง แล้วประกอบสร้างเป็นคำได้ เช่น /d-o-g/ ได้คำว่า dog
- เมื่อสร้างคำได้ สามารถแยกเสียงที่มาของคำนั้นได้ เช่น คำว่า pen มาจากเสียง p/e/n
- สามารถตัดคำออกหรือสร้างคำใหม่ได้จากเสียงคำเดิม เช่น คำว่า hair เมื่อตัด h ออกไป จะได้เสียงใหม่คือ air / หรือหากต้องการเติมเสียง /s/ ข้างหน้าคำว่า it จะได้คำว่าอะไร? คำตอบคือ Sit
ซึ่งนักเรียนไทยส่วนใหญ่อาจไม่ได้รับการฝึกขั้นพื้นฐาน ขาดการเน้นทักษะเรื่องการวิเคราะห์หน่วยเสียง จึงทำให้ทักษะด้านการฟังและการพูดไม่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธีตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งอาจส่งผลช้าต่อการฝึกอ่านและเขียนตามมาได้
Fast ForWord คือโปรแกรมเดียวที่ได้รับการวิจัยและออกแบบโดยนักวิทยาศาตร์ชั้นนำระดับโลก เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการฟังและการเชื่อมโยงเสียงให้เกิดการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและเห็นผลเร็ว เด็กๆมีพัฒนาการทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาอังกฤษดีขึ้นตามลำดับ เพราะเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง...
ทดลองประสิทธิภาพการทำงานของ Fast ForWord กับเราได้แล้ววันนี้
ขอรับคำปรึกษาได้ฟรี โทร 02-656-9938 – 9
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
BrainFit จัดสัมนาเกี่ยวกับการพัฒนาสมอง และคอร์สระบบการฝึกของเรา อย่างสม่ำเสมอ **สำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่นั่งมีจำนวนจำกัด**
หรือสามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการติดต่อได้ทันทีค่ะ
อ้างอิง: Kimberly Vasconcelos, MA, CCC-SLP “Phonemic Awareness as a Predictor of Reading Success” Written by: Mutita / 14th February 2017