ลูกเล่นแรง รับมืออย่างไรดีนะ!?

 


ลูกเล่นแรง รับมืออย่างไรดีนะ!?

 

 

“ลูกเล่นแรง เป็นเด็กพลังเยอะ กะแรงตัวเองไม่ได้ เล่นกับเพื่อนไม่เป็น”

คุณแม่กังวลมากเลยค่ะ ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรดี 
 

 

เรามาลองทำความเข้าใจว่า เพราะอะไร ลูกเล่นแรง กับคนอื่นทั้งกับพ่อแม่และเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

 
BrainFit รวบรวมปัจจัยที่อาจจะส่งผลให้ “ ลูกเล่นแรง ” มาฝากค่ะ

 

1. ปัจจัยทางด้านร่างกาย

ความบกพร่องในการประมวลผลทางประสาทสัมผัส หรือ Sensory Processing Disorder (SPD) คืออาการที่สมองของเด็ก

  • รับความรู้สึกได้มากกว่า และตอบโต้ได้ไวกว่าปกติ (Hypersensitive)
  • เด็กที่รับความรู้สึกได้น้อย และตอบโต้ได้ช้ากว่าปกติ (Hyposensitive)

หากระบบดังกล่าวไม่แข็งแรงมากพอ ส่งผลให้เด็ก ๆ จะยังควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองได้ยากทั้งในเรื่องการกะระยะ การวางของ การทรงตัวให้อยู่นิ่ง การเตะบอลหรือโยนบอล เป็นต้น ยังส่งผลในเรื่องการระมัดระวังตัวเองกับสิ่งรอบข้างด้วยเช่นกัน อาจจะเห็นกันบ่อย ๆ เช่น เด็กวิ่งชนของ เด็กวิ่งไม่กี่ก้าวก็ล้ม สะดุดทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้า เป็นต้น

                                                                                                                                                                                         

2. ปัจจัยทางด้านอารมณ์และสติปัญญา

ในช่วงวัย 3 ขวบเป็นต้นไป พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาของเด็กจะเริ่มต้นพัฒนาแต่ยังไม่ได้เต็มที่ เด็กจะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับอารมณ์พื้นฐานมากขึ้น เช่น โกรธ เสียใจ มีความสุข แต่จะยังไม่รู้วิธีการจัดการอารมณ์ตัวเองที่ถูกวิธี เช่น เวลาเล่นกันกับเพื่อน ๆ อาจจะมีการผลัก การตี การเล่นแรง ๆ เพราะเด็ก ๆ อาจจะยังไม่เคยมีประสบการณ์หรือเรียนรู้ในเรื่องวิธีการจัดการอารมณ์ที่ดีมากพอ การแสดงพฤติกรรมออกมาเช่น การผลัก การตี การกรีดร้อง ตะโกนเสียงดังจึงเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่เด็ก ๆ จะแสดงออกมา

                                                                                                                                                                                          

3. ปัจจัยทางด้านสังคมและการเลี้ยงดู


ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือในหลาย ๆ ด้าน ในการเลี้ยงดูหรือการเข้าใจสังคมของเด็ก ๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น การปล่อยเด็กไว้กับสื่อต่าง ๆ นานเกินไปโดยที่ไม่ได้จำกัดสื่อที่เด็กดู ส่งผลให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมที่อาจจะไม่เหมาะสม หรือเมื่อลูกไม่พอใจก็หยิบยื่นสื่อให้ดูทันทีเพื่อให้น้องนิ่ง จดจ่ออยู่กับสื่อ ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นตาม ซึ่งเทคโนโลยีเป็นเหมือนดาบสองคมขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ปกครอง การใช้สื่อต่าง ๆ มากเกินไปส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการและการเล่นของเด็ก ๆ ค่ะ เช่น เด็กวัย 5 ขวบดูเกมออนไลน์ที่มีเนื้อหาที่รุนแรง เด็กคนนั้นอาจจะเลียนแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในเกม เพราะยังไม่สามารถแยกแยะและเข้าใจพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างแน่ชัด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กเล่นกับเพื่อนแรง ๆ เช่นกัน

                                                                                             

"ลูกเล่นแรง การรับมือ"

                                                                                            

วิธีการรับมือ “ลูกเล่นแรง” อย่างเข้าใจ

                                                                                                                                                                                          

1. คอยสังเกตพฤติกรรมตอนเล่นกับเพื่อน “ไม่ใช่จับผิด”

เวลาที่เด็กเล่นกับเพื่อน ๆ พ่อแม่อาจจะคอยสังเกตการเริ่มต้นเข้าหาเพื่อนของลูกก่อนได้นะคะ เด็กบางคนอาจจะเริ่มจากการเข้าไปแตะ แต่ยั้งแรงตัวเองไม่ได้ ทำให้กลายเป็นผลัก หรือ บางคนอาจจะทักทายก่อน ซึ่งจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ต่อยอดการเล่นได้เช่นกัน เพราะพื้นฐานแล้ว หากเจอเพื่อนที่ยังไม่รู้จัก เด็กส่วนใหญ่จะเข้าไปพูดคุยก่อน เริ่มต้นบทสนทนาเล็ก ๆ เช่น “สวัสดี ฉันชื่อมิ้นท์” เป็นต้น หากสังเกตแล้วเด็กเข้าไปแย่งของเพื่อนทันที ก็ต้องคอยบอกกับเขา ว่าควรทำความรู้จักอย่างไรก่อน

 

 

2. เล่าเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

พัฒนาการทางร่างกายของเด็กตั้งแต่วัย 3 ขวบขึ้นไปจะเริ่มพัฒนา น้องจะเริ่มใช้ร่างกายเป็นหลักมากขึ้น ทำให้เวลาเล่นอาจจะยังกะแรงของตัวเองยังไม่ได้ สิ่งที่ผู้ปกครองควรเสริมหรือบอกให้เด็กรู้ อาจจะเป็นผ่านนิทาน เรื่องเล่าที่สนุก ๆ เกี่ยวกับความสำคัญของร่างกายตัวเอง เช่น แขน ขา มือ ทำอะไรได้บ้าง และไม่ควรทำอะไรบ้าง เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้

 

 

3. สอนในเรื่องของการควบคุมและรับมืออารมณ์ของตัวเอง

หากเผลอเล่นแรงกับเพื่อนไปแล้ว เด็ก ๆ ควรรู้จักการขอโทษ การไม่ทำซ้ำ ซึ่งการเรียนรู้ตรงนี้จะเริ่มจากผู้ปกครองคอยบอก คอยพูดคุยกับเด็ก ๆ โดยใช้ความนุ่มนวลในการสื่อสาร และเป็นแบบอย่างที่เหมาะสมให้กับเด็ก ๆ

 

 

4. จัดพื้นที่ให้เล่นอย่างเหมาะสม

ธรรมชาติของเด็กคือ การเล่น การได้สำรวจรอบกว้างอย่างเหมาะสม การปลดปล่อยพลังงานที่มากล้นออกไปอย่างเหมาะสม ดังนั้น การจัดพื้นที่การเล่นสำหรับเด็ก ๆ คือสิ่งที่สำคัญมาก เพราะ การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยสร้างสาร BDNF (brain-derived neurotrophic factor) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นสมองที่ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

5. ปรับจังหวะชีวิตอย่างเหมาะสม

พื้นฐานหลัก ๆ ที่จะช่วยลดการเล่นแรง ๆ ของเด็ก คือการปรับจังหวะภายในครอบครัวหรือคนที่ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ เพราะหากสภาพแวดล้อมของเด็ก ๆ ที่ต้องทำอะไรอย่างรวดเร็ว สลับไปมา หรือช้าเกินไป ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ปกครอควรปรับสมดุลภายในครอบครัวให้สม่ำเสมอเพื่อช่วยพัฒนาทักษะของเด็ก ๆ ทั้งในเรื่องการรอคอย การกะแรง การเข้าใจแรงในการเล่นของตัวเอง รวมไปถึงลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นขณะเล่นได้ค่ะ

 

 

ลูกเล่นแรง ไม่ใช่เรื่องที่ต้องดุหรือตีเสมอไป เพียงแค่ทำความเข้าใจสาเหตุ ปัจจัยแวดล้อม

พร้อมเปิดใจรับฟังความรู้สึกและเหตุผลของเด็ก

ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะรับมือและเรียนรู้ไปพร้อมกับกับลูกรักของคุณ

 

 

คอร์สเรียน BrainFit เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ตั้งแต่ 3 - 18 ปี ที่ต้องการเสริมทักษะทางด้านต่าง ๆ ให้แข็งแรงเพื่อ

เพิ่มพื้นฐานทั้งทางด้านวิชาการ การใช้ชีวิต การจัดการอารมณ์ และการเข้าสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

✨สนใจติดต่อที่นี่ได้เลยค่ะ✨

 

"พัฒนาสมาธิ"

 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769