จัดสรรเวลา ให้มีคุณภาพ ด้วย Pomodoro Technique
การ จัดสรรเวลา เป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับพ่อแม่ และเด็ก ๆ ยุคใหม่ เพราะเวลาการเรียนของลูก ๆ เพิ่มมากขึ้น และมีการบ้านมากขึ้น ผู้ปกครองอาจจะกังวลในเรื่องของการ จัดสรรเวลา และการมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนทั้งในห้องเรียนและการทำการบ้านที่บ้าน จึงอาจจะเกิดคำถามขึ้นในใจว่า
“ลูกไม่ค่อยมีสมาธิเลย ทำการบ้านได้ไม่ครบ หรือส่งงานไม่ครบตามกำหนดเวลา
ควรทำอย่างไรดีคะ”
เรามีเทคนิคเล็ก ๆ เริ่มต้นง่าย ๆ มาฝากค่ะ
การจัดสรรเวลา ให้มีคุณภาพ ด้วย Pomodoro Technique หรือที่เรียกว่าเทคนิคจับเวลามะเขือเทศ
คือ เทคนิคการจัดสรรเวลาทำงาน 25 นาที พัก 5 นาที สลับไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบเป้าหมายงานที่ตั้งไว้ ซึ่งเทคนิคนี้คิดค้นขึ้นโดยนักธุรกิจชาวอิตาลี อ้างอิงมาจากการทำงานของสมอง ทั้งในเรื่องการจดจ่อและสมาธิ เวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำงานจึงอยู่ในช่วง 25 - 30 นาที และมีการพักผ่อนที่เพียงพอ
เพราะอะไรเราจึงเรียกว่า Pomodoro Technique หรือเทคนิคจับเวลามะเขือเทศกันนะ
เรื่องนี้มีที่มาจาก Francesco Cirillo นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งกำลังเคร่งเครียดกับการสอบ แต่เขารู้ตัวว่าเขาไม่สามารถโฟกัสกับงานตรงหน้า หรือการอ่านหนังสือได้เลย เขาจึงลุกไปหาอาหารในห้องครัว และพบกับ นาฬิกาจับเวลารูปทรงมะเขือเทศ เมื่อเขาเห็นนาฬิกา เขาจึงอยากทดลองดูว่า เขาจะจดจ่อกับหนังสือบทนี้ได้นานมากน้อยแค่ไหน จึงลองจับเวลาไปเรื่อย ๆ จาก 2 นาที เป็น 10 นาที เรื่อย ๆ จน 25 นาที และหยุดพัก 5 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมมากสำหรับในเรื่องของการโฟกัสและการจดจ่อของเขา เมื่อเขาเห็นว่าเทคนิคนี้เหมาะสมกับเขา เขาจึงเรียกเทคนิคนี้ว่า Pomodoro Technique หรือ เทคนิคจับเวลามะเขือเทศ (ซึ่งมาจาก “pomodoro” ในภาษาอิตาลี)
วิธีการจัดสรรเวลาด้วย Pomodoro Technique
1. เตรียมนาฬิกาจับเวลา⌚
การใช้นาฬิกาจับเวลาเป็นตัวช่วยในเรื่องของการโฟกัส การควบคุมตัวเองไม่ให้วอกแวก และพยายามไม่นำโทรศัพท์เข้าไปขณะที่ต้องอ่านหนังสือ เพราะอาจจะทำให้เด็ก ๆ หรือรวมถึงเราเองหลุดโฟกัสได้ง่าย
2. กำหนดขอบเขตงานที่จะทำในแต่ละวัน📚
ตัวอย่างเช่น วันธรรมดา เด็ก ๆ ต้องโฟกัสกับการเรียน เมื่อกลับบ้านมาก็ต้องทำการบ้าน ซึ่งเด็กอาจจะใช้พลังสมองเยอะมากขณะเรียน ส่งผลให้เด็กเหนื่อยล้า และไม่อยากทำการบ้าน ลองเริ่มต้นจากการกำหนดวิชาที่เขาต้องส่งก่อน หรือเรียงลำดับความสำคัญว่าวิชาไหนต้องส่งเร็วที่สุด
3. ทำงานตามเป้าหมายโดยยึดหลัก ทำงาน 25 นาที พัก 5 นาที จนกว่างานจะสำเร็จ ✨
ในขั้นตอนนี้ ช่วงแรกอาจจะค่อย ๆ เพิ่มเวลา หากเราไม่เคยทำมาก่อน หรือเด็ก ๆ ไม่สามารถโฟกัสหรือจดจ่อกับงานได้นาน อาจจะเริ่มต้นจาก 5 นาที ไปจนถึง 10 นาที เมื่อคอยสังเกตว่าเด็กสามารถโฟกัสและทำจนสำเร็จ ค่อยเพิ่มเวลาให้ครบ 25 นาที ในแต่ละงาน ซึ่งเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ช่วงอายุที่ต่างกัน ช่วงเวลาในการจดจ่อก็ต่างกัน
ระยะเวลาในการจดจ่อของแต่ละช่วงวัย
🌈เด็ก 2-3 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 4-15 นาที
เด็กในช่วงวัยนี้จะมีการจดจ่อค่อนข้างสั้น เช่น เวลาคุณแม่อ่านนิทานให้ฟังก็จดจ่อได้ประมาณ 3 - 5 นาที เท่านั้น และในส่วนของเรื่องอื่น ๆ จะมีการ
จดจ่อประมาณ 4 - 15 นาที กิจกรรมที่ช่วยเสริมในเรื่องของสมาธิ คือ การอ่านนิทาน กิจกรรมศิลปะ เพราะเทคนิคนี้อาจจะไม่เหมาะกับช่วงวัยนี้
🌈เด็ก 4-5 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 8-25 นาที
เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการด้านสมาธิที่เพิ่มมากขึ้น หากได้รับการฝึกฝน โดยเด็กวัยนี้จะสามารถเปิดดูภาพในนิทานได้เองยาวประมาณ 5-15 นาที
และทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยมีสมาธิจดจ่ออยู่ที่ 8-25 นาที
🌈เด็ก 6-7 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 12-35 นาที
เด็กจะมีสมาธิเพิ่มมากขึ้นแล้ว โดยจะมีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ที่ประมาณ 12-35 นาที
หากผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าลูกไม่ค่อยมีสมาธิหรือจดจ่อได้ไม่นานนัก สามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับพัฒนาการ
หรือปรึกษากับทาง BrainFit ได้เช่นกันค่ะ
🌈เด็ก 8-9 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 16-40 นาที
เป็นช่วงที่เด็กมีสมาธิยาวนานขึ้นและสามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความซับซ้อนหรือต้องจดจ่อนานๆ ได้แล้ว สำหรับระยะเวลาที่มีสมาธิจะอยู่ที่ 16-40 นาที
🌈เด็ก 10 ขวบขึ้นไป : มีสมาธิจดจ่อไม่เกิน 45 นาที
เด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไป รวมไปถึงผู้ใหญ่ จะมีสมาธิจดจ่อได้ไม่เกิน 45 นาที แบบที่ไม่วอกแวก ต่อสิ่งเร้ารอบตัว
ระยะเวลาการจดจ่อแต่ละช่วงวัยเป็นเพียงทฤษฎีทางพัฒนาการเพียงเท่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน บางคนอาจจะสามารถจดจ่อได้นานกว่านี้หรืออาจจะจดจ่อได้สั้น แต่หากมีการฝึกฝนที่เหมาะสม เราเชื่อว่าเด็ก ๆ จะมีการพัฒนาไปในทางที่ดีมากขึ้นค่ะ การพักผ่อนอย่างสดชื่น
เมื่อถึงเวลาในการพัก เราควรพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การหลับตา การจิบน้ำ การออกกำลังกายเบา ๆ หรือ การยืดเหยียดร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสดชื่นจากอาการเมื่อยล้า พยายามลดเวลาหน้าจอ การเล่นโทรศัพท์มือถือให้ได้มากที่สุด
4. ยืดหยุ่นเวลาตามความเหมาะสม 🏆
ขอบเขตงานที่เราวางไว้อาจจะใช้เวลามากกว่า 25 นาที งานใกล้เสร็จแล้ว หรือมีไอเดียต่าง ๆ ที่ไม่สามารถหยุดพักได้ ก็สามารถทำต่อได้เลยนะคะ แล้วค่อยปรับเวลาพักไปตามความเหมาะสมแทน แต่ควรหยุดพักนะคะ หากทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้สมองล้าด้วยเช่นกัน
จากช่วงวัยของเด็ก ๆ ที่เราได้นำเสนอไป ช่วงวัยประมาณ 4 ขวบขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เด็ก ๆ เริ่มเข้าโรงเรียน เริ่มเข้าสู่โลกกว้างมากขึ้น มีสิ่งเร้ามากมายที่รออยู่ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะสนใจหลายอย่างจนอาจจะไม่สามารถจดจ่อกับอย่างใดอย่างหนึ่งได้ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า Pomodoro Technique จะเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยในเรื่องของการจัดสรรเวลาได้อย่างมีคุณภาพและมีสมาธิทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
ผู้ปกครองสามารถใช้เทคนิคนี้ทั้งกับตัวเองและกับลูกรักได้เลยนะคะ เพราะเมื่อเรามีการจัดสรรเวลาที่ดีและมีคุณภาพ เราจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีมากขึ้น โดยที่สมองจะไม่ล้าหรือเหนื่อยเกินไป รวมไปถึงการฝึกทักษะทางสมองทั้ง 5 ด้านจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะทั้งในเรื่องของความจำ การจัดลำดับความสำคัญ และสมาธิการจดจ่อได้อีกด้วย
BrainFit มีโปรแกรมการฝึกพัฒนาทักษะทางสมองทั้ง 5 ด้าน เหมาะกับทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นการฝึกผ่านกิจกรรมที่สามารถช่วยเพิ่มทักษะต่าง ๆ ให้กับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมาธิ การจดจ่อ การเข้าใจและจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
พัฒนาสมาธิเด็ก อย่างถูกวิธี จากประสบการณ์กว่า 20 ปี
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์
02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
https://www.verywellmind.com/pomodoro-technique-history-steps-benefits-and-drawbacks-6892111