ลูก เล่นแรง! ก้าวร้าว หรือประสาทสัมผัสบกพร่อง
ลูกแรงเยอะ เล่นกับเพื่อน ๆ แรงมาก จนไม่มีเพื่อนคนไหนอยากเล่นด้วย ติดสัมผัส และไม่ระแวดระวังร่างกายตัวเอง
จริง ๆ แล้วลูกเราเป็นเด็กก้าวร้าว หรือแค่ประสาทสัมผัสบกพร่องกันนะ
ก่อนอื่นมารู้จักระบบประสาทสัมผัสกันก่อน
ระบบประสาทสัมผัส หรือระบบรับความรู้สึก แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1. การรับสัมผัส (Tactile Sense)
เป็นการรับความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทางกาย เช่น การมองเห็น รับรส ได้กลิ่น รับความรู้สึกผ่านผิวหนัง อีกทั้งระบบการรับสัมผัสยังช่วยในเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิ รวมถึงพื้นผิวของวัสดุ และคิดวิเคราะห์ว่าควรตอบสนองอย่างไร
2. การรับความรู้สึกผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อของร่างกาย (Proprioceptive)
เป็นการรับรู้การเคลื่อนไหว หรือท่าทางของร่างกาย ผ่านทางข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อเมื่อมีการขยับ มีส่วนช่วยในการวางแผนการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Motor Planning) รวมถึงความระแวดระวังร่างกายของตัวเอง (Body awareness)
3. ระบบการทรงตัว (Vestibular System)
เป็นระบบที่ช่วยในการทรงตัว รักษาสมดุลของร่างกายขณะเคลื่อนไหว หมุน เอียง หรืออยู่นิ่ง ๆ เองก็ดี โดยเป็นอวัยวะที่อยู่ในหูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ Cochlea
โดยระบบต่าง ๆ นั้น จะพัฒนาขึ้นตามวัย ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น ✨
แล้วประสาทสัมผัสบกพร่อง คืออะไรกันนะ
ความบกพร่องในการประมวลผลทางประสาทสัมผัส หรือ Sensory Processing Disorder (SPD) เป็นอาการการที่สมองของเด็ก
- รับความรู้สึกได้มากกว่า และตอบโต้ได้ไวกว่าปกติ (Hypersensitive)
- และเด็กที่รับความรู้สึกได้น้อย และตอบโต้ได้ช้ากว่าปกติ (Hyposensitive)
หากประสาทสัมผัสบกพร่องจะส่งผลให้...
1. ในเด็กที่รับความรู้สึกได้น้อย จะติดการสัมผัส ขอบให้จับแรง เล่นแรง ๆ เนื่องจากหากสัมผัสเบา เด็กจะไม่รับรู้ถึงการสัมผัสนั้น ชอบเดินชนสิ่งของหรือคนอื่น ๆ
2. ในเด็กที่รับความรู้สึกได้มาก จะไม่ชอบให้แตะตัว รวมถึงไวต่อผิวสัมผัสอื่น ๆ เช่นเสื้อผ้า รวมถึงไม่ชอบเดินเท้าเปล่า ที่ทำให้ต้องสัมผัสพื้นผิวอื่น ๆ เช่น ทราย หรือหญ้า
3. ยากในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เนื่องจากรับรู้ไว หรือช้าเกินไป เช่น เชื่องช้า ซุ่มซ่าม อยู่ไม่นิ่ง ทรงตัวไม่ได้ เดินแล้วล้มบ่อย
4. กะแรงไม่ถูก ออกแรงมากหรือน้อยเกินไป เช่น ออกแรงกดดินสอจนไส้หัก โยนบอลแรงหรือเบาเกิน การออกแรงขณะเล่นกับเพื่อน หรือสัตว์
เพราะฉะนั้นแล้ว การที่เด็ก ๆ เล่นกับเพื่อนแรงนั้น ไม่ใช่เพราะเขาก้าวร้าวแต่อย่างใด แต่เพราะประสาทสัมผัสของเด็กคนนั้น
รับความรู้สึกได้น้อย ทำให้ไม่สามารถกะแรงที่ส่งออกไปได้ถูกต้อง และหากไม่สัมผัสแรง ๆ เด็กก็จะไม่รู้สึกถึงการสัมผัสนั่นเองค่ะ
แล้วจะฝึกให้เด็ก ๆ ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง?
- ฝึกให้เด็กรับรู้ ได้ลองสัมผัสพื้นผิวที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงของเล่นที่มีการสั่น หรือต้องออกแรงต้านในการเช่น เช่น ดินปั้นที่มีความแข็ง
- การออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ระบบข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อพัฒนาได้ดี
- ฝึกระบบการทรงตัว เช่น การปั่นจักรยาน การยืนทรงตัวด้วยขาเดียว เป็นต้น
ทาง BrainFit ของเรามีกิจกรรมหลากหลาย ที่ช่วยพัฒนาระบบประสาทสัมผัสของเด็ก ๆ ให้พัฒนาไปตามวัย และทำงานได้ดียิ่งขึ้น ปรับให้การรับรู้มาก หรือน้อยเกินไปกลับมาอยู่ในระดับปกติ เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ง่ายขึ้น
หากสนใจทดลองเรียนฟรี สามารถกรอกข้อมูลด้านล่างได้เลยนะคะ
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์
02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769