วิธีกระตุ้นให้ลูกรัก กล้าพูด !

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกรัก กล้าพูด !

 

ชอบหรือไม่ชอบ ก็ไม่บอก? เวลาถามอะไรเขาก็ตอบน้อย หรือบางครั้งแม่ก็ต้องเดาใจว่าเขาอยากทำหรือต้องการอะไรกันแน่ เหมือนเขาไม่ "กล้าพูด"  ?

 


เพิ่มเพื่อน
 

 

ซึ่งดูเหมือนว่าการที่ลูกรักพูดน้อย หรือไม่ค่อยแสดงความรู้สึกออกมา ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกลำบากใจและอาจส่งผลต่อทักษะการเข้าสังคมของเขาในอนาคตอีกด้วย

 

"กล้าพูด"

 

โดยผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยา ได้ให้ข้อมูลว่าหากเด็ก ๆ มีความกล้าที่จะพูดในสิ่งที่คิดหรือแสดงความรู้สึกของตัวเอง เช่น ลูกสามารถพูดปฏิเสธได้ตรง ๆ เมื่อเขาไม่ชอบ หรือสามารถแบ่งปันเล่าเรื่องราวของวันได้เป็นลำดับขั้นตอน ก็จะทำให้เขามีความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี เพราะในอนาคตเขาต้องมีทักษะการสื่อสาร มีการแสดงความคิดเห็น และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม

 

วันนี้ BrainFit ได้นำวิธีกระตุ้นให้ลูกรักกล้าพูดจาก Marcie Beigel ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ ✨

 

 1.ให้เขาตอบคำถามด้วยตัวเอง

 

​​​​​​เช่น เวลาที่ออกไปข้างนอก หรือพบปะคนรู้จัก แล้วเขาถามคำถามลูกเรา แต่คุณพ่อคุณแม่เลือกจะช่วยตอบคำถามแทนเขา คงเพราะไม่อยากให้บทสนทนายืดเยื้อ

แต่ในขณะเดียวกัน จะยิ่งเป็นการปิดโอกาสให้เขาได้ลองสำรวจความคิดและพูดออกไป ดังนั้นเราสามารถให้เวลาและไม่เร่งรัดจนเกินไป เพื่อให้เขาได้ใช้เวลาในการตอบคำถามนะคะ

 

2.หาเวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด

 

หรือเรียกว่า “Family time” โดยใช้หัวข้อสนทนาที่เขาสนใจ จากนั้นพยายามใช้คำถามปลายเปิด และรอให้เขานึกและตอบคำถาม เช่น “น่าสนใจมากเลย เล่าให้แม่ฟังอีกได้ไหม” “ลูกไปเรียนวิธีนี้มาจากไหนเหรอคะ” “แม่สงสัยว่า ทำไม…ถึงเป็นแบบนี้” “แม่เพิ่งรู้ว่าสิ่งที่หนูเล่า มันเป็นแบบนี้เหรอคะ มันเป็นแบบนี้ได้ยังไงเหรอคะ?”

 

 

"ครอบครัว"

 

 

3.ไม่ตัดสินสิ่งที่เขาพูด

 

เพราะแน่นอนว่าจะทำให้เขารู้สึกไม่มั่นใจ และเลือกที่จะอยู่เฉย ๆ แทนการแสดงความคิดเห็น เพราะลูกได้เรียนรู้ไปแล้วว่า พูดไปก็ไม่มีคนรับฟัง แถมยังโดนตัดสินอีก

ดังนั้นเมื่อเขาพยายามยกหัวข้อขึ้นมาพูด หน้าที่ของเราคือการรับฟัง และไม่ตั้งคำถามที่ทำให้เขาถอดใจที่จะพูด เช่น ไปชอบได้ไง? แม่ไม่เห็นว่ามันจะดีตรงไหนเลย?

 

4.หลีกเลี่ยงการตัดสินตัวตนของเขา

คือการที่คุณพ่อคุณแม่ หรือคนรอบข้างนิยามตัวตนของเด็ก แทนการเรียกชื่อเขา เช่น “เด็กที่หัวดี ๆ น่ะ” “น้องแว่น ที่เดินช้า ๆ นั่นน่ะ” “น้องที่หัวช้าหน่อย” เพราะเด็ก ๆ จะมองภาพตัวเองตามสิ่งที่คนอื่นมองเขาค่ะ และจะทำให้เขาไม่กล้าแสดงออก เพราะกลัวจะโดนตัดสินได้ในที่สุด

 

อีกทั้งก็มีเด็กบางคนที่เอาคำพูดเหล่านั้นไปเปรียบเทียบกับตัวเอง เช่น เด็กคนนั้นหัวดี แต่เราไม่เก่งพอเหรอ? ทำไมคนนั้นเขาไม่เรียกเราว่าเด็กหัวดีบ้าง และทำให้เขาขาดความมั่นใจได้เช่นกันนะคะ

 

นอกจากนี้ BrainFit ยังมีคอร์สฝึกพัฒนาสมาธิแบบ Whole Brain Training ที่นอกจากจะช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังสามารถพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจในการสื่อสารและแสดงออก ทั้งความรู้สึกและความคิดของตัวเองให้มากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ ?

 

Source: Erica Lamberg (2020)

 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการสมาธิและการเรียนรู้ของลูกกับเรา ที่ BrainFit

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4