9 วิธีการเลี้ยงดูลูกน้อย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

9 วิธีการเลี้ยงดูลูกน้อย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

เพิ่มเพื่อน

 

9 วิธีการเลี้ยงดูลูกน้อย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การเลี้ยงดูลูกอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ปกครองหลาย ๆ ท่าน และเป็นงานที่ต้องได้รับการเติมเต็มอยู่ตลอดเวลา และคุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองนั้นมีเวลาในการเตรียมตัวเพื่อเลี้ยงดูลูกได้น้อยมาก ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับการเลี้ยงดูเด็ก 9 ข้อ ที่สามารถช่วยให้คุณรู้สึกมีความพร้อมและความมั่นใจมากขึ้น

 

1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตัวเองให้ลูกน้อย

เด็ก ๆ เริ่มพัฒนาการรับรู้ตนเองตั้งแต่เป็นทารก เมื่อเขามองเห็นครอบครัวผ่านสายตาของตัวเอง ผ่านทางน้ำเสียง ภาษาท่าทาง และการแสดงอารมณ์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกซึมซับ โดยคำพูดและการกระทำจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาการ การเห็นคุณค่าในตนเองมากกว่าสิ่งอื่นใด

การให้คำชมถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็สามารถทำให้เขาภูมิใจได้ ให้เด็ก ๆ ได้ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างอิสระที่จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าพวกแข็งแรง และสามารถทำกิจกรรมนั้นได้ ในทางตรงข้าม ถ้าไม่ให้คำชม จะทำให้เด็กรู้สึกว่าพวกเขาไม่มีคุณค่าในตนเอง

หลีกเลี่ยงการใช้คำสั่งที่มากเกินไปหรือคำพูดที่รุนแรงที่เปรียบเสมือนดั่งอาวุธ เช่น “นั่นเป็นสิ่งที่โง่มาก” หรือ “เธอทำตัวเป็นเด็กมากกว่าน้องชายเสียอีก!” เพราะอาจจะทำให้เกิดผลเสียกับเด็กตามมาในภายหลัง

เลือกใช้คำพูดที่ระมัดระวัง และเป็นคำพูดที่จริงใจ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ว่าทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้และคุณก็ยังคงรักพวกเขาอยู่ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ชอบพฤติกรรมของเขาก็ตาม

 

2. พยายามชมเมื่อลูกเป็นเด็กดี

คุณเคยที่จะหยุดคิดบ้างไหมว่า คุณแสดงอาการที่เป็นลบใส่ลูกของคุณกี่ครั้งในแต่ละวัน? คุณอาจจะค้นพบว่าตัวเองตำหนิบ่อยกว่าการให้คำชมลูก คุณลองจินตนาการดูว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร เวลาที่เจ้านายพูดกับคุณไม่ดี ตำหนิต่าง ๆ นานา ถึงแม้ว่ามันจะเป็นความตั้งใจดีจากเจ้านายก็ตาม เด็ก ๆ ก็เช่นกัน พวกเขาก็ต้องการคำพูดดี ๆ และคำชมต่าง ๆ เมื่อพวกเขาทำดีหรือเป็นเด็กดี เช่น “ลูกจัดที่นอนโดยที่ไม่ต้องให้บอก เยี่ยมมากเลยลูก” หรือ “แม่กำลังดูหนูเล่นกับน้องและหนูอดทนได้ดีมากเลยจ่ะ” คำพูดเหล่านี้จะส่งเสริมให้ทำพฤติกรรมที่ดีมากกว่าการดุแบบซ้ำ ๆ

พยายามหาจุดที่จะชมเชยในทุก ๆ วัน ใจกว้างในการให้รางวัล และให้ความรัก การกอด และคำชมจะมีผลอย่างน่ามหัศจรรย์ จากการให้รางวัลที่มากพอ ในไม่ช้าคุณจะได้เห็นพฤติกรรมที่คุณอยากเห็น

 

3. มีขีดจำกัดและทำตามกฎระเบียบ

กฎระเบียบเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ทุกบ้าน เป้าหมายของการมีกฎระเบียบคือช่วยให้เด็กเลือกพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับและให้รู้จักการควบคุมตนเอง พวกเขาอาจจะทดสอบขีดจำกัดของคุณที่มีต่อพวกเขา พวกเขาต้องการมีกฎระเบียบเพื่อที่จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ

การสร้างกฎระเบียบในครอบครัวจะช่วยให้เด็กเข้าใจถึงความคาดหวังของคุณและการพัฒนาการการควบคุมตนเอง กฎระเบียบบางข้ออาจจะรวมไปถึง “การไม่ให้ดูทีวีจนกว่าการบ้านจะเสร็จ” และจะไม่มีการตี การเรียกชื่อ

คุณอาจจะต้องการให้มีระบบ เช่น เตือน 1 ครั้ง ทำตามผลที่ตามมาโดยการ “Time Out” หรือเสียสิทธิพิเศษ ข้อผิดพลาดทั่วไปที่ผู้ปกครองมักทำคือ การล้มเหลว และไม่สามารถที่จะทำตามกฎระเบียบที่คุณสร้าง คุณไม่สามารถย้อนเวลากลับมาหรือเพิกเฉยแล้วรอครั้งต่อไป ต้องพยายามทำอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามในสิ่งที่คาดหวัง

 

4. หาเวลาให้กับลูก

มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากสำหรับบางครอบครัวที่ผู้ปกครองและเด็กจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาพร้อมรับประทานอาหารด้วยกัน หรือใช้เวลาคุณภาพด้วยกัน แต่อาจจะไม่มีอะไรที่เด็ก ๆ ชอบไปกว่า การตื่นก่อนสัก 10 นาทีในตอนเช้า และคุณก็สามารถทานอาหารเช้าร่วมกับเด็ก ๆ ได้ หรืออาจจะเป็นการเก็บจานหลังทานอาหารเสร็จ และเดินออกกำลังกายนิดหน่อยหลังทานอาหารเสร็จ เด็ก ๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองมักจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะเขารู้ว่าทุกคนจะสนใจหากเขาทำพฤติกรรมเช่นนั้น

หลายครอบครัวเริ่มรู้จักการจัดตารางเวลาเพื่อจะได้ใช้เวลาร่วมกับเด็ก ๆ เช่น กำหนด “คืนพิเศษ” ในแต่ละสัปดาห์ที่จะอยู่ด้วยกัน และให้เด็ก ๆ ช่วยตัดสินใจว่าจะใช้เวลาร่วมกันอย่างไร 

เด็กวัยรุ่นดูเหมือนจะต้องการการสนใจจากผู้ปกครองที่น้อยกว่าเด็กเล็ก และนั่นเป็นโอกาสที่เหลือน้อยสำหรับผู้ปกครอง และเด็กวัยรุ่นจะได้ใช้เวลาร่วมกัน ผู้ปกครองควรพยายามอย่างเต็มที่ ในการที่จะใช้เวลาเพื่อให้เด็กวัยรุ่นได้มีการบอกถึงความต้องการหรือทำกิจกรรมกรรมที่อยากทำร่วมกับสมาชิกในครอบครัว

ไม่ต้องรู้สึกผิดถ้าคุณเป็นครอบครัวที่ต้องทำงาน ยังคงมีสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆที่คุณพอจะทำได้ เช่น ทำกับข้าว เล่นเกม เดินเล่น เพราะเด็ก ๆ จะจดจำสิ่งเหล่านั้น

 

5. เป็นแบบอย่างที่ดี

เด็กเล็กเรียนรู้อย่างมากจากการแสดงออกของคนในครอบครัว ยิ่งเด็กเท่าไร ยิ่งซึมซับมาจากคุณ ก่อนที่คุณจะแสดงอะไรออกไปต่อหน้าเด็ก ๆ ให้คิดก่อน : “นั่นเป็นสิ่งที่เราอยากให้ลูกแสดงออกเวลาเขาโกรธเหรอ?” ให้ตระหนักไว้เสมอว่าเด็ก ๆ กำลังจ้องมองคุณอยู่ ซึ่งได้มีงานวิจัยกล่าวว่า เด็กที่โดนตีประจำจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ที่ได้ต้นแบบมาจากผู้ปกครองที่บ้าน

รูปแบบพฤติกรรมที่คุณต้องการจะเห็นในตัวเด็กคือ การเคารพ ความเป็นมิตร ความซื่อสัตย์ ความเมตตา ความอดทน ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละเพื่อผู้อื่นโดยปราศจากสิ่งตอบแทน รู้จักขอบคุณหรือการรู้จักชมผู้อื่น ทั้งหมดนี้คุณต้องแสดงให้เด็ก ๆเห็นเหมือนที่คุณคาดหวังว่าให้คนอื่นทำแบบคุณ

 

6. พูดคุยถึงการลำดับความสำคัญ

คุณไม่สามารถคาดหวังให้เด็กทำทุกอย่างเพียงเพราะคุณอยู่ในฐานะผู้ปกครอง "พูดอย่างนั้น" พวกเขามีความต้องการและสมควรได้รับการอธิบายเทียบเท่าผู้ใหญ่ ถ้าคุณไม่มีการอธิบาย เด็กจะเริ่มสงสัยกับความสำคัญและเป้าหมาย ดังนั้นผู้ปกครองที่ให้เหตุผลกับเด็ก ๆ จะทำให้เด็ก ๆ เข้าใจและเรียนรู้ต่าง ๆ โดยไม่มีตัดสิน

ต้องแน่ใจว่าความคาดหวังนั้นชัดเจน ถ้าหากมีปัญหา ก็ให้อธิบาย บอกถึงอารมณ์ และเชิญชวนให้เด็ก ๆ มาร่วมแก้ปัญหาไปกับคุณ และก็ต้องแน่ใจกับผลที่ตามมาด้วย ให้ข้อแนะนำหรือตัวเลือก และก็ต้องเปิดรับข้อแนะนำของเด็ก ๆ ด้วย การเจรจาต่อรองโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนั้น จะมีแรงจูงใจที่จะทำให้เด็กทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ

 

7. มีความยืดหยุ่นและเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงดู

ถ้าคุณ “รู้สึกแย่” ทุกครั้งจากพฤติกรรมของลูกคุณ บางทีคุณอาจจะมีความคาดหวังที่มากเกินความเป็นจริง เช่น ผู้ปกครองที่คิดว่าลูก “ต้อง” ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ตลอดเวลา เช่น ในตอนนี้ลูกของฉันควรที่จะต้องเข้าห้องน้ำเป็นได้แล้ว บางทีอาจศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกลูกเข้าห้องน้ำด้วยตัวเองให้มากขึ้น อาจจะหาข้อมูลได้จากการพูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่นหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคุณและจะทำให้คุณมีแนวทางในการฝึกลูกให้เข้าห้องน้ำด้วยตนเองมากขึ้น

เด็กวัยรุ่นมักจะมองพ่อแม่ของตนเป็นต้นแบบน้อยลง และมองหาแบบอย่างที่ดีกว่า แต่คุณยังคงสามารถให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ และคอยเตือนเรื่องระเบียบวินัยที่เหมาะสม ในขณะที่ปล่อยให้พวกเขาเป็นอิสระมากขึ้น และใช้เวลาทุกช่วงเวลากับพวกเขาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

8. บอกให้รู้ว่ารักแบบไม่มีเงื่อนไข

ในฐานะผู้ปกครอง หน้าที่ของผู้ปกครองคือมีหน้าที่ต้องสอนเด็ก ๆ ให้ทำให้สิ่งที่ถูกต้องและคอยให้คำแนะนำสำหรับพวกเขา แต่วิธีที่คุณแสดงคำแนะนำสิ่งที่ถูกต้องในวิธีที่ สามารถทำออกมาได้ในรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อให้เด็ก ๆ รับข้อมูลนั้นได้

เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับเด็ก ๆ หลีกเลี่ยงการโทษ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือหาคนผิด ซึ่งบ่อนทำลายความนับถือตนเอง และสามารถนำไปสู่ความไม่พอใจของเด็กได้ คุณควรจะพยายามเอาใจใส่และให้กำลังเมื่อลูกทำผิดพลาด และแน่ใจว่าเขารู้ในสิ่งที่คุณต้องการและคาดหวังว่าจะดีขึ้นในครั้งหน้า แสดงความรักของคุณให้ลูกรู้อยู่ตลอดว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณก็ยังรักพวกเขาอยู่”

 

9. รู้ความต้องการของคุณเอง และรู้ข้อจำกัดของคุณ

ยอมรับให้ได้ว่า คุณไม่ใช่ผู้ปกครองที่สมบูรณ์ คุณมีจุดแข็ง และจุดอ่อนในฐานะผู้นำครอบครัว ต้องรู้ว่าจุดแข็งในการเลี้ยงดูลูกของคุณคืออะไร เช่น คุณสามารถสอนให้เด็ก ๆ ทำการบ้านให้เสร็จได้ แต่จุดอ่อนของคุณคือ คุณยังไม่สามาถทำให้ลูกของคุณมีระเบียบได้ เช่น “ฉันต้องมีระเบียบวินัยมากกว่านี้ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก” โดยที่คุณจะมีความคาดหวังที่ใกล้เคียงความเป็นจริงกับจุดอ่อนของตนเองที่ต้องการพัฒนา คุณอาจจะไม่ต้องพัฒนาจุดอ่อนหลาย ๆ จุดในเวลาเดียวกัน คุณสามารถค่อย ๆ พัฒนาในทีละจุด ซึ่งมันจะได้ผลดีมากกว่าการพยายามจะทำทุกอย่างในครั้งเดียว

 

อย่าลืมนำทิปทั้ง 9 ข้อที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ ไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูลูก ๆ ของคุณกันนะคะ อาจจะเริ่มต้นทีละนิด แต่รับรองเวลาเกิดประโยชน์มหาศาลกับตัวลูกน้อยของคุณแน่นอน เพราะลูกน้อยจะมีทั้งความภาคภูมิใจในตนเอง รับรู้ถึงความรักของพ่อกับแม่ มีระเบียบมากยิ่งขึ้น เป็นต้น สามารถติดตามสาระน่ารู้ดี ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรานะคะ

 

พัฒนาสมาธิ อย่างถูกวิธี ตรงจุด ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี

 

      

BrainFit รับสมัครน้อง ๆ อายุตั้งแต่ 3-18  ปี

รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!!

02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE@brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

 

ที่มา: KidsHealth Medical Experts