ความจำดี ด้วย 6 วิธีที่ไม่ควรพลาด

 

 

 “ความจำดี” ด้วย 6 วิธีที่ไม่ควรพลาด

 

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า

 

  • ทำไมเด็กบางคนถึง ความจำดี แต่เด็กบางคนกลับขี้ลืมอยู่ตลอดเวลา

  • บางคนสามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายปีก่อนได้ แต่กลับจำบทเรียนที่คุณครูสอนเมื่อตอนเช้าไม่ได้

 

มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความจำเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์กับผลการเรียน หรือความสามารถในการเรียนรู้ (school performance) ของเด็ก ๆ อย่างมีนัยสำคัญ

 

เพราะหากเด็ก ๆ มีปัญหาหรือความบกพร่องในส่วนของ Working Memory กล่าวคือ

  • มีปัญหาด้านการจดจำข้อมูล

  • การคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ

  • หรืออาจมีกระบวนการทำงานช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน

 

ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เด็ก ๆ ประสบกับ ภาวะบกพร่องในการบริหารจัดการ (Dysexecutive Syndromes) และอาจประสบกับภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้มากมาย เช่น สมาธิสั้น (ADHD) หรือ ความบกพร่องในการอ่านเขียน (Dyslexia) เป็นต้น

 

BrainFit เข้าใจและรับรู้ได้ถึงความกังวลใจ ของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ที่อาจกำลังประสบกับปัญหาข้างต้น ท่านสามารถสบายใจได้

เพราะปัญหาเรื่องการทำงานในส่วนของ Working Memory เราสามารถแก้ไขและพัฒนาได้ ยิ่งกับเด็ก ๆ แล้วนั้น ยิ่งมีโอกาสในการพัฒนาสูง

 

เพิ่มเพื่อน

 

วันนี้ BrainFit มี 6 ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูก ๆ มีความจำดีและผลการเรียนดีขึ้นมาฝากกันค่ะ

 

1. ทำความเข้าใจว่าความจำแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน

ผู้ปกครองหลายท่านอาจคุ้นเคยหรือพอจะเข้าใจว่า ความจำแบ่งออกได้เป็น ความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว แต่นอกจากนี้ยังมี ความจำการรู้สึกสัมผัส อีกด้วย โดยความจำมี 3 ประเภทดังนี้

  • ความจำการรู้สึกสัมผัส (Sensory Memory)

ความจำการรู้สึกสัมผัส เป็นความจำในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นความจำที่มาจากประสาทสัมผัสหรือความรู้สึก ที่รับรู้มาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ความจำจากการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส การสัมผัสผ่านผิวหนัง เป็นต้น

 

 

ซึ่งความจำจากการรู้สึกสัมผัสนี้ เช่น การใช้มือสัมผัส การได้ฟังเสียง การมองเห็นภาพ ฯลฯ ทำให้เราเรียนรู้และคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ทั้งยังส่งผลต่อการมีสมาธิจดจ่อของเราด้วย หากได้รับรู้บ่อย ๆ จะทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ เข้าใจ และความสามารถในการจดจำข้อมูลได้ยาวนานขึ้นได้อีกด้วย

  • ความจำระยะยาว (Long-Term Memory)

ความจำระยะยาวคือ การจดจำบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้อย่างละเอียด แม้เหตุการณ์จะผ่านมา 3 วัน 10 เดือน หรือ 20 ปี ก็ยังสามารถจดจำและสามารถกู้คืนเพื่อนำออกมาใช้เมื่อต้องการได้นั่นเอง ความจำระยะยาว สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกคือ

ความจำที่เรียกคืนโดยใช้ความคิดระดับสูง (Explicit Memory) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจ เช่น การจำชื่อเพื่อนสมัยประถมได้ การจำชื่อผลไม้เขตร้อนทุกชนิด หรือการจำชื่อจังหวัดในประเทศไทยได้ เป็นต้น

ความจำระยะยาวอีกชนิดคือ ความจำที่สามารถเรียกคืนกลับโดยอัตโนมัติ (Implicit Memory) ซึ่งได้มาจากการฝึกทำซ้ำ ๆ เช่น การปั่นจักรยาน การขับรถ ความสามารถในการพูดภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

  • ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory)

การจดจำข้อมูลจำนวนเล็กน้อยเพื่อนำไปใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 30 วินาที เช่น การจดจำหมายเลขโทรศัพท์เพื่อนำไปบันทึกไว้ในสมุด ในระหว่างการจดจำนี้ Working Memory ซึ่งเป็นความจำระยะสั้นประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญก็กำลังทำงาน เพราะในขณะนั้นเรากำลังตั้งใจจดจ่อกับตัวเลขนั้นอยู่ และพยายามทบทวนหมายเลขนั้นให้จำขึ้นใจก่อนจะนำไปจดลงในสมุด เป็นกระบวนการคิดเพื่อการหาทางแก้ไขปัญหาที่กำลังเจออยู่นั่นเอง

หมายความว่า Working Memory ไม่ใช่แค่การจดจำในขณะหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นความสามารถในการเชื่อมโยง และจัดระบบข้อมูล คิดในระดับที่ซับซ้อนขึ้น และช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลที่ต้องการนำออกมาใช้ในช่วงเวลานั้น ๆ ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น เวลาอ่านหนังสือ เราใช้ Working Memory ในการเชื่อมโยงย่อหน้าหนึ่งกับย่อหน้าถัดไปได้ เป็นการคิดทบทวนเรื่องราวก่อนหน้าและนำมาเชื่อมโยงกับย่อหน้าปัจจุบัน จนทำให้เราเข้าใจเรื่องนั้นได้นั่นเอง

นอกจากนี้ งานวิจัยได้ค้นพบว่า การเพิ่มทักษะความจำแบบ working memory ช่วยให้ความสามารถในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving Skill) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจบทความและการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ดีขึ้น รวมไปถึงส่งผลต่อผลการเรียน และ IQ ที่ดีขึ้นด้วย

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วว่า สมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะสั้นและสมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะยาวนั้นทำงานต่างกัน ก็จะเข้าใจว่าการที่ลูกอาจจะหลงลืมคำศัพท์ที่คุณครูสอนบ่อย ๆ หรือรู้สึกว่าการแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ เป็นเรื่องยากนั้น ไม่ใช่เพราะว่าเขาขี้เกียจหรือไม่อยากจำ แต่การทำงานของ working memory ของเด็กนั้นยังไม่แข็งแรงนั่นเอง

สรุปก็คือ หากเด็ก ๆ ได้รับการฝึกใช้ Working Memory อย่างต่อเนื่องจนมีความจำเพื่อใช้งานที่แข็งแรงนั้น จะทำให้เด็ก ๆ สามารถจัดการหรือทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งยังสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

 

2. ฝึกสะกดคำ ช่วยให้จำเก่ง

การจำวิธีการสะกดคำนั้น คือ ประเภทหนึ่งของความจำโดยความหมาย (semantic memory) หรือ เรียกง่าย ๆ ว่าความรู้ (knowledge) นั่นเอง ในช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียนของลูก พ่อแม่หลายคนจะสอนให้ลูก ๆ จำว่าตัวอักษรนั้นเรียกว่าอะไร เช่น B เรียกว่า บี แต่การที่ให้ลูก ๆ ได้พัฒนาการออกเสียงของแต่ละตัวอักษรและคำต่าง ๆ ก็มีประโยชน์อย่างมากในการสร้างความจำส่วนที่เกี่ยวกับเสียง (phonological memory) เช่น สอนให้เด็กรู้ว่า B ออกเสียงว่า “เบอะ” เป็นต้น และยังส่งเสริมพื้นฐานการสะกดคำในอนาคตของลูกด้วย

 

 

เพราะว่าการที่เด็กมีความแม่นยำในการวิเคราะห์หน่วยเสียงย่อย (Phonemic awareness) นั้นคือพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้การสะกดคำ และอ่านหนังสือของเด็ก ๆ เมื่อโตขึ้น การที่เด็กบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและสะกดคำ เช่น อ่านไม่คล่อง อ่านสลับไปมาหรือข้ามบรรทัด สะกดคำไม่ถูก หรือเขียนตกหล่นอยู่บ่อย ๆ อาจเป็นเพราะหน่วยความจำที่เกี่ยวกับเสียง (phonological memory) ยังมีแม่พิมพ์ที่ชัดเจนไม่พอ

 

 

นักวิจัยจาก Scientific Learning จึงได้คิดค้นซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Fast ForWord ที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาพื้นฐานกี่ยวกับการฟังเหล่านั้นได้ในเวลาอันสั้น โดยโปรแกรมนี้จะช่วยปรับตั้งแต่ทักษะพื้นฐานของการเรียนรู้ภาษาที่สำคัญ นั่นคือทักษะการฟัง ทั้งยังเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาในรูปของเกมที่ช่วยพัฒนาทั้งทักษะภาษาอังกฤษ พัฒนาสมาธิ การจดจ่อ รวมไปถึงความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ลำดับข้อมูล และ ความจำดี อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

 

3. นอนหลับให้เพียงพอ

หลายคนคิดว่าเวลาที่เรานอน สมองของเราจะได้พักผ่อนและหยุดทำงาน แต่ความจริงแล้ว ในขณะที่เราหลับ สมองของเรากำลังเรียบเรียง จัดการข้อมูลและความจำที่สมองได้รับเข้ามาตลอดวัน ทั้งจัดการโยนข้อมูลที่ไม่สำคัญทิ้งไปและจัดเก็บส่วนที่สำคัญไว้ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  ในวันต่อไปและมี ความจำดี ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

5. ให้ working memory ได้ทำงานบ่อย ๆ

Working memory คือ ความจำส่วนสำคัญที่ทำงานเมื่อเราต้องการแก้ปัญหาต่าง ๆ ความจำส่วนนี้จะช่วยให้เราจดจ่อกับโจทย์ปัญหาในมือและในขณะเดียวกันก็ทำการค้นหาและดึงข้อมูลจากหน่วยความจำระยะยาวมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเราสามารถฝึก working memory ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยการฝึกอย่างถูกวิธีและความถี่ที่เหมาะสม

BrainFit จึงออกแบบ SMART Workout ซึ่งเป็นเกมฝึก working memory ที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการพัฒนาทั้งทักษะความจำ working memory จากการมองและจากการฟัง (Visual and Auditory memory) ไปพร้อม ๆ กับทักษะอื่น ๆ เช่น ความเร็วในการประมวลผล (Processing speed) สมาธิการจดจ่อ (Attention) เป็นต้น

 

 

มาในรูปแบบของเกมที่หลากหลาย ใช้งานง่ายได้ทั้งในคอมพิวเตอร์ และ iPad หรือแท็ปเล็ต รองรับทั้งระบบ iOS และ Android

ตัวอย่างของเกม

 

 

6. หากลยุทธ์การจำที่เหมาะกับลูกของคุณ

การฝึกให้เรามีทักษะการจดจำที่ดีนั้นมีวิธีมากมาย ดังเช่น การฝึกฝน ทบทวนซ้ำ ๆ ในช่วงแรกของการรับข้อมูลใหม่ แน่นอนว่าเราจะยังไม่สามารถจดจำข้อมูลนั้นได้ทั้งหมด แต่หากเราได้เจอกับข้อมูลนั้นบ่อย ๆ ทบทวนบ่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่งข้อมูลนั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ จนเราสามารถจดจำได้เป็นอย่างดี

ซึ่งวิธีการจดจำของแต่ละคนอาจมีวิธีที่ต่างกัน เช่น

  • การแบ่งข้อมูลเป็นส่วนย่อยหรือเป็นกลุ่ม เพื่อให้จำง่ายขึ้น
  • การจำข้อมูลเป็นภาพ
  • การจำข้อมูลเป็นแผนผังความคิด (Mind Map)
  • หรือการจดจำโดยนำข้อมูลสร้างเป็นเรื่องราว

ซึ่งวิธีเหล่านี้จะต้องอาศัยความขยัน ความมีวินัยในการฝึกฝนบ่อย ๆ จึงจะช่วยพัฒนาทักษะในการจดจำให้ดีขึ้นได้ เพื่อที่จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลและการเรียกข้อมูลกลับมาใช้ใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายและแม่นยำมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของลูกและหาวิธีที่แตกต่างและเหมาะสมกับลูก ๆ แต่ละคน

 

6. ฝึกสมองแบบ Whole Brain Training

นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น เพราะที่สถาบัน BrainFit เรามีหลักสูตรการฝึกสมอง ที่ช่วยพัฒนาทั้งด้านความจำ สมาธิ รวมไปถึงความฉลาดทางอารมณ์และการเข้าสังคม ผ่านโปรแกรมและกิจกรรมที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน

นั่นคือ หลักสูตรการฝึกแบบ Whole Brain Training หลักสูตรนี้ประกอบด้วย โปรแกรมที่ผ่านการวิจัยและได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และกิจกรรมสนุกสนาน ที่ได้รับการคิดค้นจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งด้านกายภาพบำบัด กุมารเวชศาสตร์ ประสาทวิทยาในเด็กและสมอง

 

 

ทั้งนี้ในหลักสูตร Whole Brain Training เด็ก ๆ ยังจะได้รับการฝึกสมองผ่านการทำกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะสำคัญทั้ง 5 ด้าน คือ

  • ทักษะการจดจำ คิด วิเคราะห์ สมาธิและการจดจ่อ  
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการมอง
  • การควบคุมการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส
  • ทักษะการเข้าสังคมและความฉลาดทางอารมณ์

นอกจากเด็ก ๆ จะมีความจำและการทำงานของ Working Memory ที่ดีขึ้นแล้ว ไม่เพียงเท่านั้นเด็ก ๆ ยังได้พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ลำดับข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทักษะเหล่านี้ช่วยให้การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนในห้องเรียน หรือการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน เป็นเรื่องง่ายและสนุก ทั้งยังพัฒนาเรื่องของความเข้าใจในการจัดการอารมณ์และการเข้าสังคม ทำให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ เข้าใจ และปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีมากขึ้นนั่นเอง

 

 

และทั้งหมดนี้ก็คือ 6 ข้อที่คุณผู้ปกครองควรรู้ หากบุตรหลานของท่านกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็น

  • จำบทเรียนในห้องไม่ได้
  • คิด วิเคราะห์ ประมวลผลช้า
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน
  • ฯลฯ

 

ปัญหาเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด เพราะเมื่อเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว การแก้ปัญหาก็ไม่ใช้เรื่องยากอีกต่อไป

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจบุตรหลานของท่านมากขึ้น สถาบัน BrainFit พร้อมช่วยเหลือและอยู่เคียงข้าง เพื่อสร้างโอกาส อนาคตที่ดี และเปิดโลกการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ให้กว้างขึ้น     

 

 

BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี

 

 

 

รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!

 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

 

Reference: https://brainfit.com.sg/types-of-memory/

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4