ความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว ต่างกันอย่างไร?

         

ความจำระยะสั้น และ ความจำระยะยาว ต่างกันอย่างไร?

         

คุณรู้หรือไม่? ความจำ นั้นมีหลายประเภท

 

          ลูกของคุณอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วได้อย่างละเอียดและแม่นยำแต่กลับจำคำศัพท์ที่คุณครูสอนไปเมื่อวานไม่ได้เลย การทำความเข้าใจว่าความจำแต่ละประเภทนั้นต่างกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของลูก ๆ ได้ดีขึ้น

 

          การที่เราจะจำอะไรบางอย่างก็คือการที่เราจัดเก็บข้อมูลในสมอง ซึ่งสิ่งที่เป็นข้อมูลและระยะเวลาที่เราจำสิ่งนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าความจำนั้นคือความจำประเภทไหน ความจำ มีอยู่ 2 ประเภท แบ่งตามระยะเวลาที่ความจำนั้นถูกจัดเก็บ ก็คือ ความจำระยะสั้น (Short-term memory) และ ความจำระยะยาว (Long-term memory)

 

  • ความจำระยะยาว

          เป็นหน่วยความจำที่เปรียบเสมือนคลังข้อมูลที่เราจะสามารถดึงมาใช้ได้ในอนาคต สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด เป็นระยะเวลานาน ความจำชนิดนี้สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกคือ ความจำที่เรียกคืนโดยใช้ความคิดระดับสูง )Explicit Memory) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจของบุคคลนั้น ๆ เช่น การจำได้ว่าใครมางานวันเกิดของเราบ้างเมื่อเดือนที่แล้ว หรือ จำชื่อผลไม้เขตร้อนทุกชนิด เป็นต้น ความจำอีกชนิดคือ ความจำที่สามารถเรียกคืนกลับโดยอัตโนมัติ (Implicit Memory) ซึ่งได้มาจากการฝึกทำซ้ำ ๆ เช่น การปั่นจักรยาน, การขับรถ เป็นต้น

  • ความจำระยะสั้น และ Working memory

          คือหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เพียงแค่เวลาสั้น ๆ และเก็บข้อมูลได้จำกัด ความแตกต่างระหว่างความจำสองแบบนี้ก็คือ ความจำระยะสั้น อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นการจดจำบางอย่างไว้ ณ ชั่วขณะหนึ่งก่อนที่เราจะลืมหรือส่งต่อไปที่ความจำระยะยาว อย่างเช่น การจำหมายเลขโทรศัพท์ให้นานพอที่จะเขียนมันลงไปในกระดาษ เป็นต้น แต่ working memory ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลเพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการจัดการข้อมูลอย่างคล่องแคล่วด้วย เช่น การจำหมายเลขโทรศัพท์แล้วต้องท่องหมายเลขเหล่านั้นจากหลังไปหน้าให้ถูกต้อง เป็นต้น

         เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับ Working memory ที่น่าสนใจอย่างมากมาย เนื่องจากเหล่านักวิทยาศาสตร์นั้นได้เข้าใจถึงความสำคัญของ working memory ในการเรียนรู้และปฎิบัติ นอกจากนี้ การเพิ่มทักษะของความจำแบบ working memory ได้ถูกค้นพบแล้วว่าช่วยให้ความสามารถใน การแก้ไขปัญหา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจบทความและการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์), ผลการเรียน, รวมไปถึง IQ ดีขึ้นด้วย

 

เพิ่มเพื่อน

 

คำแนะนำเกี่ยวกับความจำสำหรับคุณพ่อคุณแม่

 

  1. ทำความเข้าใจว่าความจำแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วว่า สมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะสั้นและสมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะยาวนั้นทำงานต่างกัน คุณก็จะเข้าใจว่าการที่ลูกอาจจะหลงลืมคำศัพท์ที่คุณครูสอนบ่อย ๆ แต่กลับจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้วได้อย่างแม่นยำ ไม่ใช่เพราะว่าเขาขี้เกียจหรือไม่อยากจำแต่สมองส่วนที่ควบคุมความจำด้านนั้นอาจจะแข็งแรงกว่าอีกด้านเท่านั้นเอง

  1. สะกดคำเก่งช่วยให้จำเก่ง

การจำตัวสะกดของคำคือชนิดหนึ่งของความจำโดยความหมาย (semantic memory) หรือความรู้ (knowledge) นั้นเอง ช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียนของลูก นอกเหนือจากการสอนว่าตัวอักษรนี้ออกเสียงอย่างไร การที่ให้ลูก ๆ ได้พัฒนาการตอบสนองที่ว่องไวต่อเสียงของตัวอักษรและคำต่าง ๆ ก็มีประโยชน์ในการสร้างความจำส่วนที่เกี่ยวกับเสียง (phonological memory) และส่งเสริมพื้นฐานการสะกดคำในอนาคตของลูกด้วย

  1. นอนหลับให้เพียงพอ

หลายคนคิดว่าเวลาที่เรานอน สมองของเราจะได้พักผ่อนและหยุดทำงาน แต่ความจริงแล้ว ในขณะที่เราหลับสมองของเรากำลังเรียบเรียงและจัดการข้อมูล ทั้งจัดการโยนข้อมูลที่ไม่สำคัญทิ้งไปและจัดเก็บส่วนที่สำคัญไว้ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในวันต่อไปและมีความจำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ให้ working memory ได้ทำงานบ่อย ๆ

Working memory คือความจำส่วนสำคัญที่ทำงานเมื่อเราต้องการแก้ปัญหาต่าง ๆ ความจำส่วนนี้จะช่วยให้เราจดจ่อกับโจทย์ปัญหาในมือและในขณะเดียวกันก็ทำการค้นหาและดึงข้อมูลจากหน่วยความจำระยะยาวมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเราสามารถฝึก working memory ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยการฝึกอย่างถูกวิธี ที่ BrainFit เรามีกิจกรรมที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่าเหมาะกับการฝึกความจำ working memory อย่างเข้มข้นและได้ผลจริง

 

  1. หากลยุทธ์การจำที่เหมาะกับลูกของคุณ

เทคนิคการจำสิ่งต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้เราจำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น เพื่อที่จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลและการเรียกข้อมูลกลับมาใช้ใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายและแม่นยำมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของลูกและหาวิธีที่แตกต่างและเหมาะสมกับลูก ๆ แต่ละคน

 เคล็ด(ไม่)ลับ ลูกจำเก่ง 

          Working Memory เป็นพื้นฐานความจำที่สำคัญในการฝึกสมองแบบ Whole Brain Training ที่ BrainFit เราเล็งเห็นความสำคัญของ working memory ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและในชีวิตประจำวัน เราจึงทำงานการร่วมกับนักประสาทวิทยาระดับโลกเพื่อให้ได้หลักสูตรและกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการฝึกสมองอย่างเข้มข้นและเห็นผลได้เร็ว 

         

พัฒนาสมาธิให้เด็กอย่างถูกวิธี 

 

 

สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!

 

LINE Official Account: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

02-656-9938 / 02-656-9939 

02-656-9915 / 091-774-3769

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4