แก้ไขได้ถูกเมื่อ ลูกติดแม่ มาก

 

แก้ไขได้ถูกเมื่อ ลูกติดแม่ มาก

 

เพิ่มเพื่อน

 

จะทำอย่างไรดี? เมื่อ ลูกติดแม่ เอามาก ๆ BrainFit เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านน่าจะเคยประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน โดยเฉพาะคุณแม่ ที่ลูกมักจะเรียกร้องหาแต่แม่ ไม่ว่าคุณแม่จะทำอะไร อยู่ตรงไหนของบ้าน หากลูกไม่เห็นแม่อยู่ในสายตาก็จะร้องไห้งอแงทันที หลายคนมองว่าการที่ ลูกติดแม่ แสดงให้เห็นว่าลูกรักแม่มาก เป็นภาพที่น่ารักน่าเอ็นดู แต่ถ้า ลูกติดแม่มาก เกินไปจนคุณแม่ไม่มีเวลาส่วนตัวเลยล่ะ เราจะแก้ไขอย่างไรดี

 

คุณพ่อคุณแม่หายห่วงได้เลยค่ะเพราะ วันนี้ BrianFit มีแนวทางการแก้ไขสำหรับ ลูกติดแม่ มากเกินไปมาฝากกันค่ะ มาดูกันก่อนเลยว่าสาเหตุที่ ลูกติดแม่ มีอะไรบ้าง แล้ว เราจะมีวิธีการแก้ไขพฤติกรรมนี้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ!

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า ลูกของเรากำลังอยู่ในช่วงวัยไหน เพราะเด็กแต่ละวัยจะมีพฤติกรรมติดคุณแม่ต่างกันไปตามพัฒนาการและช่วงวัยของลูก

 

เด็กทารก

ช่วงหลังคลอดจนถึง 9 เดือน จะเป็นช่วงวัยที่ ลูกติดแม่ ตามธรรมชาติ เพราะในวัยนี้ลูกจะสามารถจำกลิ่นของคุณแม่ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไม? ลูกถึงร้องไห้เมื่อเปลี่ยนคนอุ้มหรือคุณแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ เพราะลูกไม่ได้กลิ่นที่คุ้นเคย ซึ่งเป็นกลิ่นที่ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและสบายใจนั่นเอง อีกทั้งช่วงอายุ 6-8 เดือน ลูกจะสามารถจดจำใบหน้าของคนที่คุ้นเคยได้ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่สร้างความคุ้นเคยให้ลูกได้เจอคนอื่นในครอบครัวบ่อย ๆ เช่น ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย หรือพี่เลี้ยง ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและสามารถอยู่กับคนอื่นได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ลูกไม่เป็น ลูกติดแม่มาก ในอนาคตได้นั่นเองค่ะ

 

เด็กอายุ 1-2 ปี

ในช่วงวัยนี้ลูกจะเริ่มปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมหรือผู้คนอื่นได้ จะไม่ติดแม่อยู่ตลอดเวลาเหมือนเด็กทารก แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่มีอาการติดแม่เลยนะคะ ช่วงวัยนี้ลูกจะยังมีอาการติดแม่แสดงให้เห็นอยู่บ้าง เช่น เมื่อเห็นแม่ใส่รองเท้าเพื่อออกจากบ้าน ลูกจะร้องไห้เพราะลูกจะรู้สึกกังวลและไม่สบายใจเมื่อคนที่เค้าคุ้นเคยกำลังจากไป แต่หากลูกยังมีคนที่คุ้นเคยคนอื่นอยู่รอบตัวเช่น คุณพ่อ คุณลุง คุณป้า พี่เลี้ยง ฯลฯ อาจทำให้ลูกรู้สึกสบายใจขึ้นและไม่รู้สึกกังวลมาก

 

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กทารกจนถึง 2 ขวบ จะยังมีอาการติดแม่เป็นเรื่องปกติ แต่จะทำอย่างไรดีล่ะ ถ้า ลูกติดแม่ มากเกินไป อายุลูกก็มากกว่า 2 ขวบแล้วแต่ยังร้องหาแต่แม่ ไม่ยอมให้แม่ไปไหน คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้เลยค่ะ เพราะ BrainFit มี วิธีแก้ไขสถานการณ์ ดังกล่าวมานำเสนอ ดังต่อไปนี้

 

  • สร้างความคุ้นเคยให้ลูกอยู่กับคนอื่นเป็น

อย่างที่เคยบอกไป ถ้าหากลูกมีคนที่คุ้นเคยหรือคนที่ลูกคุ้นหน้าบ่อย ๆ ตั้งแต่เด็ก ลูกจะรู้สึกปลอดภัยและติดแม่น้อยลง แต่ถ้าลูกมีคนคุ้ยเคยน้อยล่ะ? ไม่ต้องห่วงค่ะ เพราะคุณแม่สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ เริ่มจากให้ลูกลองอยู่กับคนอื่นในครอบครัว โดยที่มีคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกค่อย ๆ ปรับตัว ซึ่งอาจจะใช้เวลาสักหน่อย คุณแม่ต้องอดทนนิดนึงนะคะ ถ้าเกิดคุณแม่ต้องไปเข้าห้องน้ำ หรือต้องไปทำอาหารในครัว ให้คุณแม่ส่งเสียงให้ลูกได้ยิน ให้ลูกรู้สึกว่าคุณแม่ยังอยู่ใกล้ ๆ ไม่ได้ห่างไปไหนระหว่างที่ลูกอยู่กับคนอื่น วิธีนี้จะทำให้ลูกเริ่มมั่นใจ ไว้วางใจ และมีคนคุ้ยเคยเพิ่มขึ้นนอกจากคุณพ่อและคุณแม่นั่นเอง

 

  • บอกลาลูกเมื่อต้องออกไปไหน

เคยเป็นไหมคะ ทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน ลูกรักของเรามักจะร้องไห้งอแงไม่ยอมให้คุณพ่อคุณแม่จากไปไหน วิธีแก้ไขสถานการณ์นี้คือ ทุกครั้งที่จะออกจากบ้าน คุณพ่อคุณแม่ต้องบอกลาลูกเสมอ โดยบอกบอกว่าจะไปไหนแล้วจะกลับมาตอนไหน กอดและหอมเพื่อแสดงให้ลูกมั่นใจว่าเราไม่ทิ้งลูกไปไหน และเราจะกลับมาแน่นอน แต่อย่าใช้เวลาบอกลาลูกนานเกินไปนะคะเพราะจะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกใจอ่อนและขวัญเสียมากขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อบอกลาแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ออกบ้านได้เลย อาจฝากลูกให้กับคนที่บ้านช่วยเล่นและโน้มน้าวความสนใจของลูก หลังจากคุณพ่อคุณแม่ต้องออกจากบ้าน แล้วอย่าลืมกลับมาตามช่วงเวลาที่ให้สัญญากับลูกไว้นะคะ คุณพ่อคุณแม่ลองทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ลูกจะค่อย ๆ ปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ห่างจากคุณพ่อคุณแม่บ้างในช่วงเวลาที่จำเป็นได้ด้วยตนเองค่ะ

 

  • มีช่วงเวลาอยู่กับลูกอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน

กรณีนี้เหมาะกับลูกที่โตขึ้นมาหน่อยมากกว่า 2 ขวบ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ค่อยได้อยู่กับลูกในช่วงเวลากลางวัน เพราะต้องออกไปทำงาน และต้องฝากลูกไว้กับพี่เลี้ยงหรือคนอื่นในครอบครัว หากลูกไม่มีเวลาได้อยู่กับพ่อแม่เลย จะยิ่งทำให้ลูกโหยหาช่วงเวลานั้น หากปล่อยไว้จนลูกเกิดความเคยชิน อาจทำให้ลูกรู้สึกขาดความรักและห่างเหินกับคุณพ่อคุณแม่ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจแบ่งเวลาช่วงก่อนนอนอยู่เล่นกับลูกเต็ม ๆ 1 ชั่วโมง อ่านหนังสือนิทาน พูดคุยกับลูก เพื่อสานสัมพันธ์กับลูก และทำให้ลูกไม่รู้สึกขาดความรักที่ได้จากพ่อแม่ แม้ในเวลากลางวันลูกจะไม่เจอพ่อแม่เลย แต่แน่นอนว่าช่วงกลางคืนลูกจะได้ใช้เวลาตรงนี้อย่างเต็มที่ เพราะเหตุนี้เองลูกจะรู้สึกปลอดภัยและสบายใจมากขึ้น

 

  • ให้ลูกได้ออกไปเจอเพื่อนมากขึ้น

การที่ลูกได้ใช้เวลาเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน หรือได้เจอคนอื่นนอกจากคนในครอบครัวมากขึ้น จะทำให้ลูกติดพ่อแม่น้อยลง เพราะแทนที่จะอยู่แต่บ้านเล่นกับพ่อแม่หรือคนในบ้าน นอกจากลูกจะได้ออกมาเจอเพื่อนใหม่และสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ แล้ว ลูกยังได้พัฒนาทักษะการเข้าสังคมมากขึ้นอีกด้วย โดยอาจให้ลูกได้มีเวลาเล่นกับเพื่อนที่โรงเรียนมากขึ้น หรือหาวันว่าง ๆ เสาร์ อาทิตย์ พาลูกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น หรือหากิจกรรมนอกบ้านทำ เพื่อให้ลูกได้เจอเพื่อนใหม่มากขึ้น นี่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีนะคะ

 

  • ให้ลูกได้ตัดสินใจเลือกด้วยตัวเองอย่างอิสระ

สำหรับเด็กโต การที่ ลูกติดแม่มาก อาจมีสาเหตุจากคุณพ่อคุณแม่ทะนุถนอมลูกด้วยความเป็นห่วงมาตั้งแต่เล็ก ทำให้ลูกติดพ่อแม่มาก ไม่อยากไปไหนมาไหนหรือทำอะไรคนเดียว เราอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองให้ลูกได้เล่นหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยตนเอง หรือให้ลูกได้เลือกสิ่งที่อยากทำด้วยตนเอง เช่น ให้ลูกลองปลูกต้นไม้ ช่วยคุณแม่ทำอาหาร จัดโต๊ะ จัดห้องนอนของตนเอง หรือเลือกกิจกรรมที่อยากทำด้วยตนเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ยังอยู่ใกล้ ๆ ก่อน เมื่อลูกทำได้ก็ชื่นชมที่ลูกทำสำเร็จ คำชมนี้เองจะทำให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง และเรียนรู้ที่จะปรับตัวในการอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองได้ดียิ่งขึ้น

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับ 5 วิธีข้างต้นนี้ เมื่อต้องพบกับสถานการณ์ที่ ลูกติดแม่ มากจนลูกเองแยกจากพ่อแม่ไม่ได้ หรือไม่กล้าเจอคนอื่นเลยแม้แต่เพื่อนวัยเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถนำเอา 5 วิธีแก้ไข ลูกติดแม่ มากข้างต้นไปลองปรับใช้กันดูได้นะคะ อย่างไรก็ตาม วิธีข้างต้นนี้ต้องอาศัยเวลา ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติของคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างลูก เมื่อลูกค่อย ๆ เรียนรู้และปรับตัวได้ พฤติกรรมการติดพ่อแม่ก็จะค่อย ๆ ลดลงอย่างเป็นธรรมชาติ ตามช่วงวัยและพัฒนาการของลูกนั่นเองค่ะ

 

เพิ่มเพื่อน

 

BrainFit เข้าใจถึงปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่กำลังกังวลใจ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกท่านสามารถติดตามบทความและข้อมูลดี ๆ จากเว็บไซต์ของ BrainFit และหากมีข้อสงสัย คำถาม อยากขอคำปรึกษา หรือสนใจคอร์สกับทางสถาบัน สามารถติดต่อเราได้ตามข้อมูลด้านล่างได้เลยค่ะ ทาง BrainFit ยินดีให้ข้อมูลและคำปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ    

 

พัฒนาสมาธิให้เด็กอย่างถูกวิธี เห็นผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

 

"พัฒนาสมาธิเด็ก"

 

เพิ่มเพื่อน

@brainfit_th

 02-656-9938 / 091-774-3769